Overview

Artist: Thaiwijit Puengkasemsomboon
Curator: Angkrit Ajchariyasophon

Taken from a Chinese proverb, “One Generation Plants the Trees, Another Gets the Shade,” captures the topical issue of air pollution resulting from Thaiwijit’s first hand experience as a resident in the North of Thailand where smog from farmland burning filled the air at certain times of the year. The exhibition also incorporates Thaiwijit’s interest in scrap materials, while repurposing them he also gives a new meaning to these materials in his work.When one thinks of Thaiwijit’s style, the genre of ‘abstract expressionism’ comes to mind. The distinctive rhythm of colors, lines, shapes and compositions creates spontaneity, aesthetics, and freedom of expression – all of which points to the language of modernism. Apart from his remarkable abstract paintings, Thaiwijit also experiments in 3 dimensional artwork with functional usage or so called ‘a functional design of sculpture.’

Thaiwijit has been creating a series of small sculptures that he names “functional objects” including; chairs – some are workable while some are not; lamps that seem alive; plant pots that are designed as an extension of the plants themselves, or sometimes whimsical abstract sculptures. Until recently he has incorporated environmental content as well as his personal interest in product and architectural design with forms mimicking the nature. Inspired by Primitive Art, Raw Art, or Native African Art, most of his sculptures present a combination of more than one type of material for instance stone and cement or wood and steel. Without altering the substance of the medium, whether it be cement or iron, his sculptures reveal the intrinsic look of their base materials. Thaiwijit’s sculptures are known for their fluid form which almost seem to be animated while at times his sculptures look like they have mechanical properties. This style of design is a distinctive feature of his works over the past several years.

In the Bangkok Art Biennale (BAB), Thaiwijit exhibited the installation art titled “Hundreds of Parents” and “The World is Directed by Karma.” These works are experimental in nature as he started to use premade mostly abandoned materials such as metal grills, plastic mannequins and picture frames. They were displayed alongside his paintings to discuss environmental issues as consequences of human actions. His art posed questions through proverbs from ancestral wisdom in the hope for the audience to take home the message from his art.

In “One Generation Plants the Trees, Another Gets the Shade” Thaiwijit continues to incorporate disposed materials in his art creation. He uses cardboard paper from air conditioner boxes to create a series of posters campaigning for the end of agricultural burning in open spaces. Through his figurative functional sculpture, he suggests that individuals can eliminate household pollution by storing dry leaves instead of burning them. He reminds viewers of  a day of fresh air through his landscape painting accompanied by the song ‘Blowin` in the Wind.’

The exhibition “One Generation Plants the Trees, Another Gets the Shade” presents a hypothesis of the root cause of the air pollution issue in the Northern part of Thailand. Inevitably, the critical issue lies in humankind’s consumption habits which cannot be resolved by art or a single person.   This exhibition attempts to shed light on the issue through art created by the artist who is a victim of poor air quality.

Whether we are of the generation that plants or cuts down trees, there is no need to wait for the next generation because it’s all humankind that has to bear the consequences.

ศิลปิน: ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์

ภัณฑารักษ์: อังกฤษ อัจฉริยโสภณ

“One generation plants the trees, another gets the shade.”
คือนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยแบบสื่อผสมที่ประกอบไปด้วยงานจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะจัดวาง ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ โดยจับประเด็นสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสภาพอากาศ อันมีที่มาจากปัญหาฝุ่นควันพิษทางภาคเหนือ ที่ศิลปินร่วมเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ผนวกเข้ากับความสนใจในคุณสมบัติของวัสดุเหลือใช้ ที่ศิลปินนำกลับมาประกอบสร้างให้เกิดความหมายแบบใหม่

ถ้าจะนิยามผลงานศิลปะแบบ ‘ไทวิจิต’ เราอาจจะคิดถึงจิตรกรรมนามธรรมแบบ Abstract Expressionism ที่มีจังหวะของสี เส้น องค์ประกอบและรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ เรื่องราวหลักของผลงานคือ ความฉับพลัน สุนทรียภาพ และอิสรภาพในการทำงานของทัศนธาตุ ซึ่งเป็นภาษาแบบจิตรกรรมสมัยใหม่ นอกจากการทำงานด้านจิตรกรรมนามธรรมที่โดดเด่นและน่าสนใจแล้ว ไทวิจิต ยังทดลองสร้างสรรค์งานด้านประติมากรรมที่มีส่วนผสมของการออกแบบเครื่องใช้ เป็นประติมากรรมที่มีฟังก์ชั่น หรือจะเรียกว่าเป็นงานออกแบบที่เป็นประติมากรรมก็ได้

ไทวิจิตได้พัฒนางานประติมากรรมขนาดเล็กที่เขาเรียกว่า ‘Functional Objects’ ดูคล้ายเก้าอี้นั่งได้บ้างไม่ได้บ้าง ดูเหมือนโคมไฟที่มีชีวิต ดูเหมือนกระถางต้นไม้ที่ต่อขยายจากรูปทรงของพันธุ์ไม้นั้นๆ และหลายครั้งก็เป็นรูปทรงนามธรรมดูน่าสนุกและมีชีวิตชีวา ซึ่งต่อมาศิลปินได้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม กอปรกับความสนใจส่วนตัวของศิลปินเกี่ยวกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั้งงานสถาปัตยกรรม รูปทรงล้วนมีอยู่แล้วในธรรมชาติ งานประติมากรรมส่วนมาก ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานพริมิทีฟ (Primitive Art) งาน Raw Art หรือศิลปะพื้นเมืองอัฟริกัน ไทวิจิต สนใจการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมด้วยการผสมวัสดุมากกว่าหนึ่งอย่างเสมอ เช่น หินกับปูน หรือ ไม้กับเหล็ก ซึ่งได้เปิดความเผยความเป็นไปได้ของรูปทรงพื้นผิวของวัสดุนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูป แต่เป็นการใช้วัสดุจากคุณสมบัติพื้นฐานโดยตรง เรายังเห็นปูนเป็นปูน และเหล็กเป็นเหล็ก สาระของวัสดุไม่ว่าจะเป็นมวล หรือพื้นผิวยังคงเป็นธรรมชาติเดิมของตัววัสดุเอง และด้วยการออกแบบรูปทรงที่ลื่นไหล ทำให้ประติมากรรมของไทวิจิตเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ บางครั้งเป็นเหมือนสิ่งประดิษฐ์ที่เหมือนจะมีกลไกแมนนวล การออกแบบรูปทรงของประติมากรรมเหล่านี้ กลายเป็นลักษณะเด่นของผลงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมาของศิลปิน

ผลงานล่าสุดที่เพิ่งจัดแสดงไปในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale (BAB) ไทวิจิต แสดงผลงานศิลปะจัดวางที่ใช้ชื่อว่า “ร้อยพ่อพันแม่” (Hundreds of Parents) และ “กัมมุนา วัตตติ โลโก” (The World is Directed by Karma) นับว่าเป็นงานทดลองการใช้วัสดุสำเร็จรูป เช่น สิ่งของที่ถูกทิ้งนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ตระแกรงเหล็ก ทุ่นพลาสติก และกรอบรูป มาร่วมจัดวางกับรูปวาดที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ด้วยน้ำมือของเราทุกคนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบโดยตั้งคำถามผ่านสำนวน สุภาษิต อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เพื่อให้ผู้ชมตีความจากงานศิลปะที่จัดวางในนิทรรศการ จนต่อเนื่องมาถึงนิทรรศการ “One generation plants the trees, another gets the shade.” ที่ วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ไทวิจิตยังคงใช้วิธีการสร้างเรื่องเล่าผ่านการใช้วัสดุสำเร็จรูปมาประกอบกับภาพวาดอีกครั้ง เช่น การเลือกกล่องกระดาษที่ใช้บรรจุเครื่องปรับอากาศ นำมาเขียนโปสเตอร์รณรงค์หยุดเผาในที่โล่งเพื่อพูดถึงปัญหาสภาพอากาศของภาคเหนือ หรือแม้กระทั้งความพยายามในการแก้ปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการลดมลพิษในอากาศภายในครัวเรือนด้วยการสร้างประติมากรรมหุ่นฟิกเกอร์ที่มีฟังก์ชั่นเก็บใบไม้แห้ง หรือแม้กระทั่งภาพทิวทัศน์ที่ทำให้หวนคิดถึงวันที่อากาศสดใส ประกอบเนื้อเพลง ‘Blowin` In The Wind’

นอกจากข้อสงสัยที่มีสมมติฐานต่อสาเหตุของปัญหามลพิษทางอากาศ คำตอบที่อยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ของการบริโภค ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยงานศิลปะหรือใครคนใดคนหนึ่ง จะเป็นได้ก็เพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ อีกครั้งของการตอกย้ำให้เห็นถึงมิติของปัญหาผ่านมุมมองของศิลปินในฐานะผู้ประสบภัย

ไม่ว่าเราจะเป็นคนรุ่นที่ปลูกต้นไม้หรือตัดต้นไม้ ไม่จำเป็นต้องรอคนรุ่นถัดไป เพราะคนเราเองนี่แหละ ที่จะเป็นผู้รับผลของการกระทำ

Artists

Curator