Year

flyingwhale.me

กรุงเทพ: WarinLab “Weaving the Ocean”

Feb 20, 2022

Weaving the Ocean โดยศิลปิน Ari Bayuaji (อาริ บายูอาจิ) ภัณฑารักษ์ Siuli Tan (ซุยลี่ แทน) @WarinLab, เจริญกรุง 36 กรุงเทพ ฯ Weaving the Ocean @ warin lab เป็นโครงการที่เริ่มต้นโดย อาริ บายูอาจิ จากการที่ศิลปินได้ใช้เวลาหลายเดือนพำนักบนเกาะบาหลี ในระหว่างที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปิดกั้นการเดินทางข้ามพรมแดน อาริ บายูอาจิ ได้ตระหนักชัดถึง ปัญหาผลกระทบจากอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ผ่านการเฝ้ามองชายหาดที่เต็มไปด้วยขยะ และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ประกอบกับ ความหลงใหลส่วนตัวในสิ่งทอ ที่เป็นงานฝีมือตามประเพณีท้องถิ่นของบาหลี ภายในงาน เราจะได้พบกับ สิ่งทอสไตล์บาหลี ซึ่งทำมาจาก ขยะพลาสติกจริง ๆ โดยเฉพาะ เศษเชือก (พบได้มากที่สุด) ที่ศิลปินและเหล่าช่างฝีมือท้องถิ่น ช่วยกันเก็บตามชายหาด แล้วนำมารังสรรค์เป็นผลงานศิลปะสุดประณีต ที่ใครมาเห็นก็ต้องรู้สึกทึ่ง และแทบไม่เชื่อว่า จะทำมาจากขยะทั้งหมด […]

warinlab.com

Nomadic Ecologies by Arahmaiani Part 1

Oct 06, 2022

Part 1: The Residency – Patani Art Space October 1-30, 2022 The start of “Nomadic Ecologies by Arahmaiani” part 1 is happening as we speak in Pattani in the South of Thailand. Stemming from Arahmaiani’s ongoing commitment to human rights and to the right of preserving our ecosystem, Nomadic Ecologies is conceived as a 2-parts […]

bangkokpost.com

Artists reflect on the often harsh nature of work

Sep 15, 2022

Three artists from Australia, China and the Philippines reflect on an ecology that involves human labour, natural force and historical memory for “Nature Of Work”, which is running at Warin Lab Contemporary until Oct 29. The exhibition traces the situations, both harsh and delicate, under which work happens. Viewers will be taken to explore the […]

lips-mag.com

Nature of Work

Sep 01, 2022

นิทรรศการโดย 3 ศิลปิน เกเบรียลล่า เฮิร์ส, ฮู ยุน และนานา บูซานี สัปดาห์นี้เราอยากพาสำรวจนิทรรศการที่เสมือนเงาสะท้อนแรงงานมนุษย์ พลังธรรมชาติ และความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ซึ่งศิลปินแกะรอยการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีทั้งความหยาบกระด้าง และความละเอียดอ่อน ผ่านคำว่า ‘งาน’ ที่สื่อถึงการลงแรง และวัตถุดิบประเภทต่าง ๆ ตลอดจนสัมพันธภาพระหว่างงานกับระบบนิเวศด้านแรงงาน รวมทั้งการกระทำที่ไม่เป็นธรรม และการสมรู้ร่วมคิด เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการที่แกะรอยสถานการณ์ซึ่งเคยเกิดขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อธรรมชาติ ตลอดจนผลต่าง ๆ ที่ตามมาแก่ทั้งผู้รอดชีวิต และผู้สูญหายจากการ ‘ทำงาน’ นั่นเอง  นานา บูซานี (Nana Buxani) ศิลปินชาวฟิลิปปินส์ ผู้ถนัดงานด้านภาพนิ่งแนวสารคดี ภาพยนตร์ และงานจิตรกรรม เพื่อถ่ายทอดเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น แรงงานเด็ก, ผู้หญิงที่ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก, ความแร้นแค้นของคนไร้บ้าน หรือ กลุ่มชาติพันธุ์และการเรียกร้องดินแดนของบรรพบุรุษ โดยในนิทรรศการครั้งนี้ เธอเริ่มสำรวจชีวิตของแรงงานในเหมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดรอมบลอน ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีชื่อเสียงในการผลิตหินอ่อน ซึ่งเป็นมวลของแข็งที่ยากต่อการจัดการ  ขั้นตอนการสกัด การเจียร และการขัดแต่งหินที่มีความงดงามน่าดึงดูดนี้ แสดงให้เห็นถึงพลังแรงงาน […]

lips-mag.com

Artificial Nature by Mary Pakinee & Nakrob Moonmanas

Jul 13, 2022

Curated by Waiting You Curator Lab วรรณกรรมเรื่อง “ชีวิตของฉันลูกกระทิง” เป็น 1 ใน 100 หนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามการจัดอันดับของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และหนังสืออ่านนอกเวลาในวัยเยาว์ของใครหลาย ๆ คน นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักธรรมชาติวิทยา คนสำคัญของประเทศไทยได้ประพันธ์ด้วยการใช้วิธีที่ชื่อว่ามานุษยรูปนิยม  (Anthropomorphism) ทำให้ลูกกระทิงที่เป็นตัวเอกและสรรพสัตว์ในป่ามีความนึกคิดและสามารถใช้ภาษาแบบมนุษย์ เขาให้ลูกกระทิงนำพาผู้อ่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ประเภทต่าง ๆ ในป่าเมืองไทย วรรณกรรมเรื่องดังกล่าวพลิกความเข้าใจเกี่ยวกับป่าดงพงไพรที่ลี้ลับเกินกว่าจะเข้าใจ โดยเปลี่ยนมันเป็นธรรมชาติที่เป็นวิทยาศาสตร์และสามารถเข้าใจได้ หนังสือเล่มนี้ยังแสดงภาพของมนุษย์หรือสัตว์ร้ายสองขาบนหลังของช้างทรยศ สัตว์ร้ายดังกล่าวพรากชีวิตด้วยเสียงราวฟ้าผ่า นายแพทย์บุญส่งใช้วรรณกรรมที่เหมือนกับการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์เพื่อเปิดให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาและการกระทำของมนุษย์ภายในระบบดังกล่าว ถือว่าหนังสือดังกล่าวก้าวหน้ามากแม้แต่ในเวลาของเรา ในปัจจุบัน บทสนทนาระหว่างธรรมชาติกับสุนทรียศาสตร์ที่ไปไกลมากกว่าความสวยงามและซับไลม์ กระบวนการทางศิลปะได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งพ้นมนุษย์ ศิลปะช่วยให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติในโลกที่ยากจะมีสิ่งใดไม่ถูกรบกวนโดยมนุษย์ ในการนี้ Waiting You Curator Lab เชิญ นักรบ มูลมานัส และแมรี่ ภาคินี ศิลปินไทยสองคนมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยแรงบันดาลจาก ชีวิตของฉันลูกกระทิง ในพื้นที่จัดแสดงของวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทำงานของนายแพทย์บุญส่ง ในนิทรรศการ “ธรรมชาติประดิษฐ์” นี้ […]

adaymagazine.com

Weaving the Ocean ศิลปะผืนผ้าที่ทอจากขยะชายหาดของ Ari Bayuaji ศิลปินชาวอินโดนีเซีย

Apr 21, 2022

แม้การได้เห็นสถานที่ที่เคยสวยงามกลายเป็นดินแดนขยะจะเป็นเรื่องน่าเศร้าและเจ็บปวด แต่แทนที่จะโกรธและก่นด่าสังคม ศิลปินหนุ่ม Ari Bayuaji อดีตวิศวกรโยธาชาวอินโดนีเซียที่ผันตัวมาเรียนต่อด้านศิลปะที่ประเทศแคนาดา จนกลายมาเป็นศิลปินที่ใช้งานศิลปะเป็นเครื่องมือสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน กลับเลือกที่จะลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อสื่อสารประเด็นนั้น ผืนผ้าหลากลวดลายที่แขวนโชว์อยู่รอบๆ ห้องแสดงงานศิลปะขนาดกะทัดรัดใจกลางกรุงเทพฯ​ ดูสวยงามราวกับผ้าทอชั้นดี แต่ถ้าหากได้ลองอ่านข้อความที่บรรยายไว้ที่ด้านหน้าของนิทรรศการแล้ว ก็จะพบว่าเบื้องหลังของเส้นใยทุกเส้นที่ประกอบร่างขึ้นมา ล้วนมีที่มาจากขยะชายฝั่ง  “เศษเชือกที่นำมาทอทั้งหมดนี้ ผมเก็บมาจากป่าชายเลนที่บาหลี ผมเคยไปบาหลีตั้งแต่สมัยเด็กๆ และประทับใจในความสวยงามของที่นั่น แต่พอกลับไปอีกครั้งก็พบว่า สถานที่ต่างๆ เต็มไปด้วยขยะพลาสติก” Ari Bayuaji กล่าว พอดีกับว่าเป็นช่วงโควิดที่ทำให้ชุมชนแถบนั้นขาดรายได้เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เขาจึงผุดไอเดียนี้ขึ้นมาและชวนชุมชนมาร่วมกัน “ตอนเริ่มต้น เราไม่มีความรู้เรื่องการทอเลย จนไปเจอชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ทำเรื่องทอผ้า แต่ขาดรายได้เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เลยเข้าไปคุยและถามว่าเส้นใยเชือกที่เก่าๆ พวกนี้เอามาทอได้ไหม เขาบอกเป็นไปไม่ได้ ผมก็ถามว่าต้องทำยังไงถึงจะเป็นไปได้ เขาก็บอกต้องทำให้สะอาดและทำให้เป็นเส้นใยก่อน” ศิลปินเจ้าของงานจึงบรรจงเก็บรวบรวมขยะเศษเชือกมาล้างทำความสะอาด แปลงร่างเป็นเส้นใย ทีละชิ้นๆ และส่งต่อให้ชุมชนช่วยกันถักทอขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นงานศิลปะที่จัดแสดงอยู่นี้ ซึ่งนอกจากจะได้เก็บขยะออกจากชายฝั่งและแปลงร่างเป็นสิ่งสวยงามแล้ว โครงการนี้ยังสร้างรายได้ให้ชุมชนไปพร้อมๆ กันด้วย จากจุดเริ่มต้นที่อินโดนีเซีย วันนี้ผลงานเขาเดินทางมาถึงประเทศไทย จัดแสดงในแกลเลอรีศิลปะย่านเจริญกรุงที่ชื่อ Warin Lab Contemporary ซึ่งเป็นแกลเลอรีที่นำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมาจัดแสดงแล้วหลายครั้ง รวมทั้งจัดงานเสวนาที่ชวนคนในวงการสิ่งแวดล้อมมาพูดคุยกับศิลปินในหัวข้อต่างๆ เป็นประจำ สำหรับครั้งนี้ เป็นการพูดคุยในหัวข้อ ‘Clean coasts: […]

matichon.co.th

Weaving The Ocean ถักทอมหาสมุทรจากซากปรักหักพัง

Apr 02, 2022

“แรงบันดาลใจในการทำงานของผม เกิดจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน” นี่คือคำกล่าวของ อาริ บายูอาจิ ศิลปินชาวอินโดนีเซีย เจ้าของผลงาน ‘Weaving The Ocean’ ศิลปะจากเศษเชือกและพลาสติกในท้องทะเล โดยมีจุดเริ่มต้นจากช่วงเวลาที่โควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกเมื่อการเดินทางข้ามประเทศหยุดชะงัก ทำให้อาริ ผู้ซึ่งปกติอาศัยอยู่ระหว่างประเทศแคนาดาและอินโดนีเซีย ได้สังเกตเห็นชายหาดที่ได้รับผลกระทบด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเต็มไปด้วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ชายหาดของเกาะบาหลีมีชื่อเสียงดังในระดับโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของประเทศอินโดนีเซีย แต่หลายปีที่ผ่านมาชายหาดในหลายประเทศประสบปัญหาขยะในทะเลทั่วโลก เกาะบาหลีก็เช่นกัน โดยเมื่อปี 2564 ชายหาดเกาะบาหลีถูกปกคลุมไปด้วยขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ถูกพัดพาจากในทะเลเข้ามายังชายฝั่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงมรสุมทุกปี ประเทศอินโดนีเซียที่มีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะจำนวนมากต่างประสบปัญหาเช่นนี้ และเป็นปัญหากระจายไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดทะเลและหมู่เกาะ อาริ จึงริเริ่มโครงการ ‘Weaving the Ocean’ เพื่อพูดถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม หยิบเอาปัญหามลพิษทางทะเล การรุกรานถิ่นอาศัยสัตว์ทะเล และการทำลายสภาพแวดล้อมอันสวยงามของชายหาดบาหลีในการรักษาสมดุลของพลังแห่งจักรวาล ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของชุมชนแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อประเพณีการทอผ้าอันล้ำค่าของชาวอินโดนีเซียและบทบาทของท้องทะเลที่เป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมบาหลี วัตถุจากการเดินทาง แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรม ‘บาหลี’ หัวใจสำคัญในวิธีการทำงานของอาริ คือการเก็บสะสมรวบรวมภาพและวัตถุที่พบเจอระหว่างการเดินทางไปยังที่ต่างๆ นำมาประกอบกันเป็นผลงานรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงความหมายของสิ่งเหล่านั้นไว้ด้วยกัน ศิลปะของอาริมักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เขาได้พบเจอ ภายในนิทรรศการมีการถ่ายทอดภาพวิดีโอการทำงานของอาริที่เล่าถึงแนวคิดในการสร้างโครงการนี้ “ในช่วงสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ผมคิดว่ามันเป็นเวลาที่พวกเราทุกคนทำอะไรในสิ่งที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญที่สุดคือควรหันกลับไปมองธรรมชาติและวัฒนธรรมของ ทั้ง 2 สิ่งนี้สามารถช่วยเราในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกในช่วงชีวิตของเรา ดังนั้น การมีอยู่ของธรรมชาติควรที่จะใช้ในทางที่จะปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้วย […]

bangkokpost.com

Off the wall

Mar 11, 2022

Galleries that are more than pleasing to the eye Art is a massive part of culture; it is intertwined with most things in life. Despite the ongoing pandemic, Bangkok’s art scene is making a comeback in full force with many thought-provoking shows that tell us that art is not merely aesthetical. Guru presents gallerists who […]

bangkokpost.com

Bali’s trash becomes Bangkok’s art

Feb 14, 2022

A collection of textile art made from plastic waste washed up on Bali’s beaches is exhibited during “Weaving The Ocean”, which is running at Warin Lab Contemporary, until April 2. The project was initiated by Ari Bayuaji, a Canada-based Indonesia-born artist, who got stuck on the island of Bali during the start of the global […]

facebook.com

Weaving The Ocean

Feb 14, 2022

สถานที่ : WarinLab Weaving the Ocean’ โครงการที่ริเริ่มโดย อาริ บายูอาจิ ศิลปินที่แบ่งเวลาพำนักระหว่างประเทศแคนาดาและอินโดนีเซีย แต่เมื่อโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดทั่วโลก และทำให้การเดินทางข้ามพรมแดนหยุดชะงักฃ อาริที่ติดอยู่ที่อินโดนีเซียจึงได้เริ่มใช้เวลาบนเกาะบาหลีเฝ้ามองดูชายหาดอย่างพินิจพิเคราะห์จนมองเห็นผลกระทบด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นผลงานศิลปะสิ่งทอที่สร้างสรรค์จากขยะพลาสติกที่พัดจากทะเลมาสู่ป่าชายเลนผืนใหญ่ โดยศิลปินได้รวบรวมช่างฝืมือและชาวชุมชนที่ไม่มีงานทำในช่วงโรคระบาดมาเข้าร่วมในโครงการ . เริ่มจากการเก็บเศษเชือกจากชายหาดนำมาคลายออกอย่างพิถีพิถัน เปลี่ยนเศษขยะที่ไม่น่ามองนี้ให้กลายเป็นวัสดุชั้นดีสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ เกิดเป็นผลงานสิ่งทอที่แสดงความยกย่องต่องานฝีมือตามประเพณี และสะท้อนถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางทะเลไปในเวลาเดียวกัน . ที่ผ่านมาศิลปะของอาริมักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เขาได้พบเจอ นิทรรศการ ‘Weaving the Ocean’ ก็เป็นอีกผลงานที่แสดงความเคารพต่อความเชื่อตามแบบวัฒนธรรมบาหลี ที่มอบบทบาทให้ท้องทะเลเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ ศาสนาของชาวบาหลีมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสายน้ำ ผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาฮินดู ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ มีการประกอบพิธีกรรมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งเกาะ ซึ่งมักจะถูกพูดถึงในฐานะ ‘Agama Tirtha’ หรือ ศาสนาแห่งสายน้ำ พิธีกรรมต่างๆ ของชาวบาหลี ท้องทะเลคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ เสื้อคลุมที่จัดแสดงในนิทรรศการ มีที่มาจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจริงที่ใช้สวมใส่ในการประกอบพิธีบนชายหาด ซึ่งศิลปินมีโอกาสได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดท่ามกลางซากปรักหักพังของสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึง 2 เมษายน 2565 . Full Post : bit.ly/3gGkb3O Source: https://www.facebook.com/sarakadeelite/photos/a.104777897633240/685567249554299/?type=3