Welcome
AN ART SPACE WITH PURPOSE!
We are honored to establish our art space in this beautiful 100 year old former residence of a legendary Dr. Boonsong Lekagul (1907 – 1992). He was a man who singled handedly launched Thailand’s wildlife conservation movement.
Our art space engages audience with prevailing social issues through non-conforming art practices.
To achieve the goal of engaging the audience at a profound level, the space devotes its focus to only one social issue per year. In 2021 and 2022, the theme is “Environment.” During the course of the year, the art space houses art exhibitions by different artists who explore environmental and sustainable issues through their own perspectives and approaches.
News - adaymagazine.com
Weaving the Ocean ศิลปะผืนผ้าที่ทอจากขยะชายหาดของ Ari Bayuaji ศิลปินชาวอินโดนีเซีย
แม้การได้เห็นสถานที่ที่เคยสวยงามกลายเป็นดินแดนขยะจะเป็นเรื่องน่าเศร้าและเจ็บปวด แต่แทนที่จะโกรธและก่นด่าสังคม ศิลปินหนุ่ม Ari Bayuaji อดีตวิศวกรโยธาชาวอินโดนีเซียที่ผันตัวมาเรียนต่อด้านศิลปะที่ประเทศแคนาดา จนกลายมาเป็นศิลปินที่ใช้งานศิลปะเป็นเครื่องมือสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน กลับเลือกที่จะลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อสื่อสารประเด็นนั้น ผืนผ้าหลากลวดลายที่แขวนโชว์อยู่รอบๆ ห้องแสดงงานศิลปะขนาดกะทัดรัดใจกลางกรุงเทพฯ ดูสวยงามราวกับผ้าทอชั้นดี แต่ถ้าหากได้ลองอ่านข้อความที่บรรยายไว้ที่ด้านหน้าของนิทรรศการแล้ว ก็จะพบว่าเบื้องหลังของเส้นใยทุกเส้นที่ประกอบร่างขึ้นมา ล้วนมีที่มาจากขยะชายฝั่ง “เศษเชือกที่นำมาทอทั้งหมดนี้ ผมเก็บมาจากป่าชายเลนที่บาหลี ผมเคยไปบาหลีตั้งแต่สมัยเด็กๆ และประทับใจในความสวยงามของที่นั่น แต่พอกลับไปอีกครั้งก็พบว่า สถานที่ต่างๆ เต็มไปด้วยขยะพลาสติก” Ari Bayuaji กล่าว พอดีกับว่าเป็นช่วงโควิดที่ทำให้ชุมชนแถบนั้นขาดรายได้เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เขาจึงผุดไอเดียนี้ขึ้นมาและชวนชุมชนมาร่วมกัน “ตอนเริ่มต้น เราไม่มีความรู้เรื่องการทอเลย จนไปเจอชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ทำเรื่องทอผ้า แต่ขาดรายได้เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เลยเข้าไปคุยและถามว่าเส้นใยเชือกที่เก่าๆ พวกนี้เอามาทอได้ไหม เขาบอกเป็นไปไม่ได้ ผมก็ถามว่าต้องทำยังไงถึงจะเป็นไปได้ เขาก็บอกต้องทำให้สะอาดและทำให้เป็นเส้นใยก่อน” ศิลปินเจ้าของงานจึงบรรจงเก็บรวบรวมขยะเศษเชือกมาล้างทำความสะอาด แปลงร่างเป็นเส้นใย ทีละชิ้นๆ และส่งต่อให้ชุมชนช่วยกันถักทอขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นงานศิลปะที่จัดแสดงอยู่นี้ ซึ่งนอกจากจะได้เก็บขยะออกจากชายฝั่งและแปลงร่างเป็นสิ่งสวยงามแล้ว โครงการนี้ยังสร้างรายได้ให้ชุมชนไปพร้อมๆ กันด้วย จากจุดเริ่มต้นที่อินโดนีเซีย วันนี้ผลงานเขาเดินทางมาถึงประเทศไทย จัดแสดงในแกลเลอรีศิลปะย่านเจริญกรุงที่ชื่อ Warin Lab Contemporary ซึ่งเป็นแกลเลอรีที่นำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมาจัดแสดงแล้วหลายครั้ง รวมทั้งจัดงานเสวนาที่ชวนคนในวงการสิ่งแวดล้อมมาพูดคุยกับศิลปินในหัวข้อต่างๆ เป็นประจำ สำหรับครั้งนี้ เป็นการพูดคุยในหัวข้อ ‘Clean coasts: […]