July 9 - August 27, 2022 - Warin Lab Contemporary

Overview

Mary Pakinee 
Nakrob Moonmanas
Curated by Waiting You Curator Lab

Cheewit Kong Chan Lookkrating [My Life…A Little Gaur] (1977) is a renowned piece of young adult literature ranked among the top 100 books for children and youth by Thailand Research Fund in 2000. Written by Dr. Boonsong Lekagul (1907–1992), a prominent naturalist and conservationist, the book anthropomorphizes a small guar and other animals to teach readers about forest animals in Thailand. The literary work shifts readers’ understanding of the forest from an impenetrable, mysterious jungle to a scientifically comprehensible natural ecosystem. The book also depicts human hunters as two-legged monsters who ride on the back of a traitorous elephant who take life by using thunder. Boonsong uses literature as a union of arts and science to create an entry point for children to learn about ecology and human effects on the forest system. Even by today’s standards, the book is very progressive.

At present, the dialogue between nature and aesthetics goes beyond beauty and the sublime. Having become a crucial tool for understanding the relationship between the human and nonhuman, artistic practice now helps to raise awareness about the conservation of nature in a world where nothing is undisturbed by human actions. The Waiting You Curator Lab invited Nakrob Moonmanas and Mary Pakinee, two young Thai artists, to create new works inspired by Cheewit Kong Chan Lookkrating in Warin Lab Contemporary’s exhibition space that used to be Dr. Boonsong’s office.

In “Artificial Nature,” Nakrob takes audiences on a historical journey through the zoological literature of Siamese intellects prior to Dr. Boonsong. He creates an interactive installation influenced by generations of poetry that attempts to describe and depict the Karawek, a mythical bird that makes the most beautiful sound in the world. He also uses taxonomy to question the placement of mystery and beliefs after science changed perceptions of nature. Meanwhile, Mary uses a digital library to create a new environment in a simulated world. The shared culture of open-world design, a game mechanic that allows players to roam freely in the pre-designed space, influences her work. Therein, audiences again assume a position as another being. The work explores not only the lack of forest in the physical world but also human violence that creates the artificial environment of the virtual world. The exhibition is an exploration into art’s role in environmental conservationism and asks questions about what has been lost in the wake of modernity.

The exhibition is the first in the “The Tropics” series, a long-term project of Waiting You Curator Lab that explores the relationship between contemporary art and the environment in the tropics.

 

‘ธรรมชาติประดิษฐ์’
แมรี่ ภาคินี
นักรบ มูลมานัส
ภัณฑารักษ์ Waiting You Curator Lab

วรรณกรรม ชีวิตของฉันลูกกระทิง เป็น 1 ใน 100 หนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามการจัดอันดับของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และหนังสืออ่านนอกเวลาในวัยเยาว์ของใครหลาย ๆ คน นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักธรรมชาติวิทยา คนสำคัญของประเทศไทยได้ประพันธ์ด้วยการใช้วิธีที่ชื่อว่ามานุษยรูปนิยม (Anthropomorphism) ทำให้ลูกกระทิงที่เป็นตัวเอกและสรรพสัตว์ในป่ามีความนึกคิดและสามารถใช้ภาษาแบบมนุษย์ เขาให้ลูกกระทิงนำพาผู้อ่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ประเภทต่าง ๆ ในป่าเมืองไทย วรรณกรรมเรื่องดังกล่าวพลิกความเข้าใจเกี่ยวกับป่าดงพงไพรที่ลี้ลับเกินกว่าจะเข้าใจ โดยเปลี่ยนมันเป็นธรรมชาติที่เป็นวิทยาศาสตร์และสามารถเข้าใจได้ หนังสือเล่มนี้ยังแสดงภาพของมนุษย์หรือสัตว์ร้ายสองขาบนหลังของช้างทรยศ สัตว์ร้ายดังกล่าวพรากชีวิตด้วยเสียงราวฟ้าผ่า นายแพทย์บุญส่งใช้วรรณกรรมที่เหมือนกับการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์เพื่อเปิดให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาและการกระทำของมนุษย์ภายในระบบดังกล่าว ถือว่าหนังสือดังกล่าวก้าวหน้ามากแม้แต่ในเวลาของเรา

ในปัจจุบัน บทสนทนาระหว่างธรรมชาติกับสุนทรียศาสตร์ที่ไปไกลมากกว่าความสวยงามและซับไลม์ กระบวนการทางศิลปะได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งพ้นมนุษย์ ศิลปะช่วยให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติในโลกที่ยากจะมีสิ่งใดไม่ถูกรบกวนโดยมนุษย์ ในการนี้ Waiting You Curator Lab เชิญ นักรบ มูลมานัส และแมรี่ ภาคินี ศิลปินไทยสองคนมาสร้างสรรค์ผลงานด้วยแรงบันดาลจาก ชีวิตของฉันลูกกระทิง ในพื้นที่จัดแสดงของวารินแล็ป คอนเท็มโพรารี ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทำงานของ นายแพทย์บุญส่ง

ในนิทรรศการ “ธรรมชาติประดิษฐ์” นี้ นักรบ มูลมานัส ได้ใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ เดินทางย้อนกลับไปในวรรณกรรมสัตวาภิธานก่อนเวลาของนายแพทย์บุญส่ง ศิลปินนำเสนอผลงานจัดวางเชิงปฏิสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของปัญญาชนสยามในการทำความเข้าใจ นกการเวก ในวรรณคดีซึ่งมีเสียงไพเราะที่สุด และตั้งคำถามถึงที่ทางของ ความลี้ลับ และความเชื่อในพงไพรผ่านการทำอนุกรมวิธาน หลังจากที่วิทยาศาสตร์เปลี่ยนมุมของที่เรามีกับธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน แมรี่ ก็ได้สร้างโลกจำลองจากห้องสมุดดิจิทัล เธอได้รับแรงบันดาลใจมากจากการสร้างสรรค์เกมส์ด้วยการออกแบบเชิงโอเพ่นเวิล์ด วิธีการสร้างสภาพแวดล้อมในเกมส์เพื่อให้ผู้เล่นสามารถท่องเที่ยวไปได้อย่างอิสระ ผลงานของเธอ นอกจากแสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนซึ่งพื้นที่ธรรมชาติในโลกกายภาพแล้วก็แสดงให้เห็นถึงความกระหายความรุนแรงของมนุษย์ที่ข้ามผ่านไปยังธรรมชาติประดิษฐ์ในโลกดิจิทัลอีกด้วย นิทรรศการนี้ทำการสำรวจหน้าที่ของศิลปะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และตั้งคำถามว่ามีอะไรที่หายไปบ้างจากความเข้าใจสมัยใหม่

นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “The Tropics” โครงการศิลปะระยะยาว ของ Waiting You Curator Lab ที่มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและสิ่งแวดล้อมในโซนเส้นศูนย์สูตร

 

Artists

Curator