February 10 - April 2, 2022 - Warin Lab Contemporary

Overview

Artist Ari Bayuaji
Curator Siuli Tan

Weaving The Ocean is a project initiated by artist Ari Bayuaji, who is based between Canada and Indonesia. When borders closed at the start of the global pandemic, Ari found himself on the island of Bali for an extended period of time. Observing both the devastation of the local tourism industry as well as the environmental pollution despoiling Bali’s beaches, Ari embarked on a series of work transforming plastic waste into textile art, made in collaboration with Balinese artisans. Weaving The Ocean addresses pressing environmental and social issues – the pollution of oceans, and the destruction of marine life and the island’s natural beauty – but through a conciliatory approach that endeavours to transform the ‘negative’ into a ‘positive’. In this way, it draws on the ethos of Balinese philosophy which seeks to balance the energies of the universe. This ongoing project is a coming-together of community effort and resourcefulness, as well as a homage to Indonesia’s rich textile traditions and the central role that the sea plays in Balinese culture.

“I’m always inspired by the contemporary challenges we are having in our time.”
~ Ari Bayuaji

The issue of plastic waste first came to Ari’s attention in 2015, when he photographed a mangrove tree covered with plastic. During his sojourns in Bali, he observed coils of colourful plastic rope wrapped around vegetation on the beach, or washed up onto the shore, often entangled with other found objects or marine life such as corals. These plastic ropes (or dolly rope as they are known), are used to protect fishing nets, and often wash up on coastlines in large quantities. 

Bird of Paradise 2015

Bird of Paradise 2015
Plastic rope on the beach
Plastic rope on the beach

Ari engaged the collective efforts of artisans and others in the local community who had been made out of work to collect the plastic ropes from the beach, and to transform this unsightly detritus into works of art. Meticulously unraveled, the colourful ropes yield sturdy raw material to be transformed into evocative tapestries that celebrate traditional craftsmanship while evoking the shifting states at sea.

Weaving Process
Weaving Process

The seascapes “Morning Breeze” and “Evening Breeze” for instance, recall the gentle play of the breeze on the water’s surface, with tiny ripples suggested by horizontal skeins of coloured thread. A thick band at the top of the tapestry evokes a horizon line, or perhaps the changing depths of water. “Sea Grass” and “The Coral Wall” were inspired by an aerial view of the ocean: a combination of weaving techniques is punctuated by loose strands and tufts of coloured thread, recalling the gentle sway of sea grass in the waters or clusters of corals. In another work, a tangle of loose threads evokes forms of marine life such as jellyfish. 

Central to Ari’s practice is his collection of images and objects he encounters during his travels, and the assemblage of these into new configurations that draw on their associative meanings. This is perhaps best exemplified in the work he created for his solo exhibition at the Montreal Museum of Fine Arts in 2017, the outcome of his artist residency engaging with the Museum’s collections. Titled A Cabinet of Curiosities, the expansive installation featured poetic juxtapositions of everyday objects collected by the artist from various Indonesian islands as well as items of personal significance, introducing audiences to new visual and cultural vocabularies. True to its title, A Cabinet of Curiosities evoked the piquant wonder of discovering new and distant worlds. 

A similar spirit can be seen in a selection of small sculptural objects included in this presentation at Warin Lab, where pieces of driftwood and coral are arranged in small ceramic vessels like bonsai, and adorned with strands of plastic rope as well as fragments of beads and other small items found by the beach. These works poetically evoke the treasures of the sea and its maritime histories, and also exemplify a Balinese ethos where everyday objects are made beautiful and sacred, as witnessed in the daily ritual offerings found all over the island. The small sculptures are visible embodiments of the ocean’s storied depths, with civilisations, histories, worlds beyond our grasp, and a palimpsest of past and present held in co-existence.

Much of Ari’s work is inspired by the culture of the locales he visits, and in the same way, Weaving The Ocean pays homage to the central role of the sea in Balinese spiritual life. Balinese religion is inextricably bound up with water, and the syncretic blend of Hinduism and animism widely observed on the island is often referred to as Agama Tirtha, or the religion of water. The sea plays a significant role in purification and blessing rituals, and the robes included in the exhibition are a direct reference to the ceremonial garb and costumes worn during ceremonies that the artist observed taking place on the beach, amidst and in spite of all the marine debris. White is a colour commonly worn by the Balinese during these ceremonies, and the scale of the robes is inspired by the imposing costumes donned by devotees during ritual dances.

Barong Landung
Sea Dancer Robes

 The balance between ‘light’ and ‘shadow’ is very important for the Balinese, who seek to reconcile ‘good’ and ‘evil’ through such rituals and offerings; in the same spirit, Weaving The Ocean transforms the devastation and filth of marine debris into something beneficial for the community at large order to achieve a harmonious equilibrium. The project gives purpose and dignity to Bali’s artisans while honouring their time-honed skills, and the resulting artworks evoke the deeply calming vistas of the sea and its many shifting moods, attesting to its importance in Balinese spirituality and culture, as well as reminding viewers of what is at stake. In this way, Weaving The Ocean is Ari’s ‘offering’ to Bali. It elevates prosaic found objects and materials into an expression of the relationship between the worlds of the visible everyday and the invisible transcendent – the sekala and niskala – a powerful reminder of the interconnectedness of all things and beings, and our responsibilities and agency within these interwoven realms.

References

Margaret Dougherty, “How The Balinese See The Sea: Interpretations of Oceanic Power”, 2018. Independent Study Project (ISP) Collection. 2934.

Fred B Eiseman, Jr., Bali: Sekala & Niskala. Essays on Religion, Ritual, and Art, 1990. Tuttle Publishing: Tokyo, Vermont, Singapore.

ศิลปิน อาริ บายูอาจิ

ภัณฑารักษ์ ซุยลี่ แทน

ในช่วงเวลาที่โรคระบาดเริ่มแพร่ขยายไปทั่วโลก ส่งผลให้การเดินทางข้ามพรมแดนหยุดชะงักลง อาริ บายูอาจิ ศิลปินที่แบ่งเวลาพำนักระหว่างประเทศแคนาดาและอินโดนีเซีย พบว่าเขาจะต้องอยู่ที่เกาะบาหลีไปอีกหลายเดือน เขาเฝ้ามองดูชายหาดที่นอกจากจะได้รับผลกระทบด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเต็มไปด้วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อม  อาริจึงริเริ่มโครงการ ‘Weaving the Ocean’  ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะสิ่งทอจากขยะพลาสติก ด้วยความร่วมมือกับช่างฝีมือท้องถิ่นในบาหลี  โครงการ ‘Weaving the Ocean’ พูดถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอันเป็นปัญหาเร่งด่วน หยิบเอาปัญหามลพิษทางทะเล การรุกรานถิ่นอาศัยสัตว์ทะเล และการทำลายสภาพแวดล้อมอันสวยงามของชายหาดบาหลี มาบอกเล่าอย่างประนีประนอมโดยใช้แนวคิดจากมุมมองด้านบวกแทนด้านลบ แนวคิดนี้สอดคล้องกับลักษณะพื้นฐานทางสังคมและหลักปรัชญาตามความเชื่อของชาวบาหลีในการรักษาสมดุลของพลังแห่งจักรวาล  โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องระยะยาว ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของชุมชนอย่างมีไหวพริบแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อประเพณีการทอผ้าอันล้ำค่าของชาวอินโดนีเซียและบทบาทของท้องทะเลที่เป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมบาหลี

“แรงบัลดาลใจในการทำงานของผม เกิดจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน”
– อาริ บายูอาจิ

อาริเริ่มหันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในช่วงปี 2015 ตอนที่เขาถ่ายภาพต้นโกงกางที่ถูกปกคลุมไปด้วยขยะพลาสติก ในระหว่างที่พักอยู่ในบาหลีนั้น เขามักจะเห็นขดเชือกพลาสติกหลากสีพันอยู่กับพืชพันธุ์ต่างๆ ตามชายหาด ถูกคลื่นซัดขึ้นมาตามชายฝั่งบ้าง หรือติดมากับวัตถุต่างๆ บ้าง แม้กระทั่งติดมากับสัตว์ทะเลอย่างปะการัง เชือกพลาสติกที่ใช้กับแหอวนจับปลาเหล่านี้มักจะถูกคลื่นซัดขึ้นมาตามชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมหาศาล

ผลงาน Bird of Paradise

ผลงาน Bird of Paradise 2015
เชือกพลาสติกตามชายหาด
เชือกพลาสติกตามชายหาด

ศิลปินรวบรวมช่างฝืมือและชาวท้องถิ่นที่ไม่มีงานทำในช่วงโรคระบาดมาเข้าร่วมในโครงการ โดยเริ่มจากการเก็บเศษเชือกจากชายหาด นำมาคลายออกอย่างพิถีพิถัน เปลี่ยนเศษขยะที่ไม่น่ามองนี้ให้กลายเป็นวัสดุชั้นดีสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ เกิดเป็นผลงานสิ่งทอที่แสดงความยกย่องต่องานฝีมือตามประเพณีและสะท้อนถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางทะเลไปในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนการทอ
ขั้นตอนการทอ

ยกตัวอย่างเช่น ผลงานทิวทัศน์ทะเล ‘Morning Breeze’ และ ‘Evening Breeze’ ที่ชวนให้นึกถึงสายลมพัดเอื่อยบนผิวน้ำ กลุ่มเส้นด้ายสีสดที่เรียงเป็นแนวนอนเปรียบเหมือนระลอกคลื่นเล็กๆ เส้นหนาทึบด้านบนของผ้าทอมองดูเหมือนเส้นขอบฟ้าหรืออาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลก็เป็นได้ ผลงาน ‘Sea Grass’ และ ‘The Coral Wall’ ได้รับแรงบันดาลใจจากทิวทัศน์ทางอากาศของท้องมหาสมุทร การผสมผสานเทคนิคการทอผ้าสลับกับเส้นเชือกและกระจุกด้ายหลากสี ราวกับพุ่มของหญ้าทะเลที่พริ้วไหวอยู่ใต้น้ำหรือกลุ่มก้อนปะการัง ในผลงานอีกชิ้น ก้อนเส้นด้ายที่พันกันยุ่งเหยิงนั้นมีรูปทรงคล้ายคลึงกับรูปร่างของสัตว์ทะเล มองดูแล้วชวนให้นึกถึงแมงกะพรุน

หัวใจสำคัญในวิธีการทำงานของอาริ คือการเก็บสะสมรวบรวมภาพและวัตถุที่เขาได้พบเจอระหว่างการเดินทางไปยังที่ต่างๆ นำมาประกอบกันเป็นผลงานรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงความหมายของสิ่งเหล่านั้นไว้ด้วยกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือผลงานในนิทรรศการเดี่ยวของเขาเมื่อปี 2017 จากการเป็นศิลปินในพำนักกับ Montreal Museum of Fine Arts ชื่อ ‘A Cabinet of Curiosities’ ชุดผลงานการรวบรวมเอาวัตถุในชีวิตประจำวันซึ่งศิลปินได้พบเจอตามเกาะต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งวัตถุที่มีความหมายเป็นส่วนตัวกับตังศิลปินเอง และนำมาจัดแสดงร่วมกับคอลเล็คชั่นที่มีอยู่แล้วในพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบศิลปะจัดวาง โดยวัตถุแต่ละชิ้นนั้นถูกคัดเลือกและจัดเรียงอย่างมีความหมายสำคัญ งานของอาริพาผู้ชมให้ได้ค้นพบ และสัมผัสกับสิ่งของแปลกใหม่จากต่างวัฒนธรรม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบรูปธรรมหรือนามธรรม กระตุ้นให้ผู้ชมถูกดึงดูดไปกับความมหัศจรรย์ในการค้นพบโลกที่ไม่เคยรู้จักและอยู่ห่างไกลออกไป

ความรู้สึกคล้ายๆ กันนี้อยู่ในนิทรรศการล่าสุดของเขาที่วารินแล็บ คอนเทมโพรารี ด้วยเช่านกัน อาริจัดวาง เศษไม้ และชิ้นปะการังในแจกันเซรามิกเหมือนต้นบอนไซในกระถาง ประดับประดาด้วยเส้นด้าย เชือกพลาสติก เศษลูกปัด และชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เก็บมาจากชายหาด งานชุดนี้สื่อความหมายอย่างล้ำลึกถึงสมบัติแห่งท้องทะเลและความเป็นมาของเหล่าสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ นอกจากนั้นยังเป็นตัวแทนความเชื่อของวัฒนธรรมบาหลีว่าวัตถุต่างๆ นั้นถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่พบเห็นได้ในพิธีกรรมทั่วเกาะบาหลี เรามองเห็นความหมายของท้องทะเลในหลากหลายมิติผ่านชิ้นงานเหล่านี้ การดำรงอยู่ร่วมกันของอารยธรรม ประวัติศาสตร์ โลกเหนือธรรมชาติ และตำนานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ศิลปะของอาริมักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เขาได้พบเจอ นิทรรศการ ‘Weaving the Ocean’ ก็เป็นอีกผลงานที่แสดงความเคารพต่อความเชื่อตามแบบวัฒนธรรมบาหลี ที่มอบบทบาทให้ท้องทะเลเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ ศาสนาของชาวบาหลีมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสายน้ำ ผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาฮินดู ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ มีการประกอบพิธีกรรมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งเกาะ มักจะถูกพูดถึงในฐานะ ‘Agama Tirtha’ หรือ ศาสนาแห่งสายน้ำ ในพิธีกรรมต่างๆ ของชาวบาหลี ท้องทะเลคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ เสื้อคลุมที่จัดแสดงในนิทรรศการมีที่มาจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจริงที่ใช้สวมใส่ในการประกอบพิธีบนชายหาด ซึ่งศิลปินมีโอกาสได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดท่ามกลางซากปรักหักพังของสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น สีขาวของเสื้อคลุมมาจากสีของเสื้อผ้าที่ชาวบาหลีสวมใส่ในการประกอบพิธีกรรม และขนาดของเสื้อคลุมที่โดดเด่นมีที่มาจากเครื่องแต่งกายของผู้ศรัทธาที่ร่วมร่ายรำในพิธี

บารองลันดุง
ผลงาน Sea Dancer Robes

ชาวบาหลีให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างสมดุลย์ระหว่างแสงและเงา ยึดถือการประนีประนอมระหว่างสิ่งดีและสิ่งชั่วร้ายผ่านพิธีกรรมและการบูชาต่างๆ ในทำนองเดียวกัน ‘Weaving the Ocean’ เปลี่ยนซากปรักหักพังของการทำลายล้างสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในวงกว้าง เพื่อสร้างสมดุลอย่างสุนทรีย์ โครงการนี้มอบจุดมุ่งหมายและความภาคภูมิใจให้กับช่างฝืมือชาวบาหลี ยกย่องภูมิปัญญาที่มีมาช้านาน เกิดเป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนทั้งความนิ่งสงบและความแปรปรวนของท้องทะเล เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเชื่อและวัฒนธรรมบาหลี นอกจากนั้นยังเตือนให้ผู้ชมตระหนักถึงปัญหาเร่งด่วนที่เรากำลังประสบอยู่ด้วย ‘Weaving the Ocean’ คือเครื่องบูชาที่อาริตั้งใจมอบให้กับบาหลี มอบความหมายที่ลึกซึ้งให้กับของที่เหมือนจะเป็นขยะไร้ค่า สร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเหนือธรรมชาติ (the sekala and niskala) เป็นเครื่องเตือนใจอันทรงพลังถึงความเชื่องโยงกันของสิ่งมีชีวิตและทุกสรรพสิ่ง เตือนให้เราตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ที่เราอยู่ร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง
Margaret Dougherty, “How The Balinese See The Sea: Interpretations of Oceanic Power”, 2018. Independent Study Project (ISP) Collection. 2934.

Fred B Eiseman, Jr., Bali: Sekala & Niskala. Essays on Religion, Ritual, and Art, 1990. Tuttle Publishing: Tokyo, Vermont, Singapore.

Artists

Curator