September 3 - October 29, 2022 - Warin Lab Contemporary

Overview


Gabriella Hirst, Hu Yun, Nana Buxani
Curated by Patrick Flores

The exhibition traces the situations, both harsh and delicate, under which work happens. By work is meant the exertion and material of any sensible kind. The forms this work generates testify to, or in fact embody, an ecology that involves human labor, natural force, and historical memory. It is in this relationality, complicity, and meshing that the trace begins and leads to the state of nature and how it has been worked out for survival and ruin.

Nana Buxani explores the lives of workers in a quarry in the Philippine province of Romblon, known for its production of the formidable substance of marble. The extraction, the grinding, and the refining of attractive matter speak to the energies of making and the difficult beauty of craft and art.

Gabriella Hirst revisits the site where the Romantic painter Caspar David Friedrich paints storms; she waits herself for a storm to come, whereupon she renders the landscape almost in vain as she struggles with the blustery, almost impossible weather and the almost impossible effort. In another work, she returns to the French city of Verdun, particularly the battle fields of World War 1, now overrun by a forest, which in turn would be diminished by a fiery storm and thus inevitably lay bare the layers of violence inflicted on the land.

Finally, Hu Yun investigates the archives of migrant mining, shedding light on the names of the Chinese workers in Australia in the 19th century who dug gold in the mines; he asks a Chinese craftsperson to painstakingly engrave their names, which have mutated over time, on the grains of rice, which was the essential nourishment for these miners.

These artistic projects evoke the nature that underlies the work, whether it is the relentless wind or the precarious woods, the dust of marble that settles on a worker’s face, or writing on precious particles of staple food.

 

เกเบรียลล่า เฮิร์ส, ฮู ยุน และนานา บูซานี
โดยภัณฑารักษ์ แพทริค ฟลอเรส
นิทรรศการนี้เป็นการแกะรอยการทำงานในสถานการณ์ต่างๆ ที่มีทั้งความหยาบกระด้างและความละเอียดอ่อน คำว่างาน สื่อถึงการลงแรงและวัตถุดิบประเภทต่างๆ ซึ่งงานในทุกรูปแบบเป็นทั้งเครื่องพิสูจน์ และเงาสะท้อนให้เห็นภาพของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมนุษย์ พลังธรรมชาติ และความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ด้วยสัมพันธภาพระหว่างงานกับระบบนิเวศด้านแรงงาน รวมทั้งการกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และการสมรู้ร่วมคิด เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการที่แกะรอยสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อธรรมชาติ รวมทั้งสำรวจผลที่ตามมาทั้งแก่ผู้รอดชีวิตและผู้สูญหาย

นานา บูซานี สำรวจชีวิตของแรงงานในเหมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดรอมบลอน ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีชื่อเสียงในการผลิตหินอ่อน ซึ่งเป็นมวลของแข็งที่ยากต่อการจัดกาsร ขั้นตอนการสกัด การเจียร และการขัดแต่งหินที่มีความงดงามน่าดึงดูดนี้ แสดงให้เห็นถึงพลังแรงงาน และความยากลำบากในการสร้างสรรค์ความงาม

เกเบรียลล่า เฮิร์ส เดินทางกลับไปยังพื้นที่ซึ่งจิตรกรในยุคโรแมนติค แคสปาร์ เดวิด ฟรีดริช เคยวาดภาพพายุในอดีต ศิลปินเฝ้ารอจนพายุมาถึงเพื่อบันทึกภาพพายุในช่วงเวลานั้น โดยต้องต่อสู้กับลมที่พัดแรงในสภาพอากาศที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้ และด้วยความพยายามที่เกือบจะสูญเปล่า ส่วนผลงานอีกชิ้นนั้น ศิลปินเก็บภาพเมืองแวร์เดิง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นสนามรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไปได้ถูกครอบคลุมด้วยผืนป่า และต่อมาได้ถูกทำลายด้วยพายุขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรง ทิ้งไว้ให้เห็นถึงความราบคาบอันเกิดจากความรุนแรงที่ซ้อนทับบนผืนแผ่นดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สุดท้าย ฮู ยุน สำรวจเรื่องราวของแรงงานจีนอพยพจากคลังเก็บเอกสารสำคัญที่ระบุรายชื่อแรงงานชาวจีนในเหมืองขุดทองประเทศออสเตรเลียในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยศิลปินให้ช่างฝืมือชาวจีนสลักรายชื่อแรงงานเหล่านั้นลงบนเมล็ดข้าวอย่างประณีต ก่อนที่จะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา ซึ่งข้าวเป็นอาหารจำเป็นที่หล่อเลี้ยงชีวิตแรงงานเหล่านั้น

งานศิลปะทั้งหมดนี้ปลุกให้ระลึกถึงธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงลมที่ไม่ยอมอ่อนข้อ ป่าที่ไม่มีความปลอดภัย ฝุ่นหินที่ติดอยู่บนใบหน้าของคนงานในเหมือง และการบันทึกชื่อขนาดเล็กจิ๋วบนอาหารสุดสำคัญของมนุษย์

 

Artists

Curator