Written by Thanchanok Benjajinda
.
Born into a plastic-dominated world, Teetuch Hongkhongkha, like most people of his generation, was surrounded by plastic all his life. Plastic was everywhere: at home, in school, on the streets, in nature. It is used, thrown away, forgotten, yet never really gone. Ubiquitous in modern life, plastic quietly makes up a large part of what we touch, and consume. Even though we know their impact on the environment lasts for decades or even centuries, we continue to rely on them for their light weight, their usefulness, their cost. Plastic, in this way, feels almost natural to our modern experience.
Hidden in Plein Sight is the first solo exhibition by Teetuch Hongkhongkha, who explores the entangled relationship between humans, plastic, and the environment. Through working with various forms of discarded plastic, the artist transforms these materials into novel and vibrant forms, imbued with a sense of vitality that challenges their familiar image as banal, disposable waste. The artist presents plastic as a concealed presence within seemingly pristine landscapes. Through its interactions with other elements in the environment, plastic becomes part of a broader network of relationships that influence how we see, think about, and respond to ecological challenges. Rather than depicting plastic simply as a pollutant, the artist presents it as an active presence within the landscape—that it helps co-construct—through the expression of its forms, colours, and textures. The exhibition encourages a “new way of seeing” that considers not only appearances but also the interconnectedness of things.
For Teetuch, the focus is not only on plastic’s presence but also its role. Drawing on Actor-Network Theory, the artist sees plastic as more than passive waste—an active material that interacts with humans and the environment. Plastic here is approached as a complex, contradictory substance capable of multiple roles. Like people, it is shaped by how it is used, where it appears, and what it connects with. It is not only defined by what it is, but also by what it does. The exhibition title, Hidden in Plein Sight, underscores this idea. By replacing “plain” with “plein”, a nod to plein air painting, the artist alludes to how plastic, like other natural elements, exists openly in the landscape yet often goes unnoticed. Though it becomes part of the scene, shaping it quietly, persistently.
At first glance, Teetuch’s paintings resemble vivid and familiar naturescapes such as mountains, skies, clouds. They shimmer and glow like oil paintings, layered with texture. One large abstract piece, The Ocean Blue, evokes the serene view of a vast ocean. From a distance, it appears calm and expansive, with bright blue hues that feel almost meditative. Upon closer inspection, translucent plastic layers come into view, creating a depth and luminosity that would not be possible with conventional paint. This appealing effect is achievable precisely because of the unique qualities of plastic. Submerged in these silent waves are patches and blotches of plastic debris, some still bearing readable labels hinting at their origin, while others have melted and fused into unrecognizable forms. In the same way that people may not notice litter during a scenic lookout, Teetuch’s works invite a second look, to ask: what are we choosing not to see in the natural world, and why?
The materiality of Teetuch’s artworks brings attention to the subtle weight of everyday choices around plastic. These paintings sit in an ambiguous space: at once beautiful and unsettling. In A Starlit Night, a dark, starry composition recalls the Milky Way. Layers of black trash bags wrap around flickers of colourful plastic bits and foil-lined snack packaging, their reflective surfaces creating a shimmering effect. This is the only work that uses this kind of metalized packaging, chosen for both its material complexity and everyday familiarity. Trash bags—commonly used to contain other plastic waste—are a notable example of plastic’s enduring presence in daily life. While reducing plastic remains crucial, the exhibition urges a more conscious and engaged relationship with disposables. Faced with choices like reusing a shopping bag, buying biodegradable liners, opting for trash bags made from recycled plastic, or settling for cheap low-grade options, the act of throwing away waste becomes more than routine. A Starlit Night echoes this quiet pressure, the tension between intention and convenience, responsibility and access. The artwork reflects how plastic doesn’t just occupy physical space, but influences small daily decisions that ripple through larger systems.
Plastic is part of the system we live in: something we interact with, negotiate with, and make decisions around every day. By using a material often dismissed as waste to depict admired landscapes, the artist highlights the contradictions in our relationship to it. Plastic offers convenience, durability, and affordability, but also brings environmental cost. While we may choose it for practical reasons, or be limited by access and circumstance, each use involves balancing. When we consume, there is a bargain. When we discard, there is a consequence. This constant negotiation is part of an extensive exchange: between benefit and disadvantage, intention and impact. Recognising this process helps us make more thoughtful choices and better understand the decisions of others, contributing to a more inclusive and realistic path toward sustainability.
Hidden in Plein Sight invites a more conscious interaction between consumers and the materials they consume. By confronting our assumptions and rethinking the nature of our relationships—with plastic, with nature, with consumption—we begin to see the negotiation involved in every act of use or disposal. This exhibition proposes a shift in perception, toward a view that is slower, more curious, and more complex. It is not a defense of plastic, but an invitation to re-engage with it. To see not only what is hidden, but what we choose not to see.
.
ทีทัช หงษ์คงคาและคนส่วนใหญ่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน ล้วนเติบโตมาในโลกที่รายล้อมด้วยพลาสติก และใช้ชีวิตท่ามกลางข้าวของที่ทำจากพลาสติกแทบทั้งสิ้น ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน บนท้องถนน หรือแม้แต่ในธรรมชาติ พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของความปกติในชีวิตมนุษย์ มันถูกใช้แล้วก็ทิ้ง ถูกลืม แต่ไม่เคยหายไปไหนจริง ๆ ถึงแม้จะรู้ดีว่าพลาสติกจะคงอยู่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปอีกหลายสิบหรือหลายร้อยปี มนุษย์ก็ยังคงพึ่งพามันอยู่นั่นเอง เพราะมันทั้งเบา สะดวกใช้ ราคาถูก พลาสติกจึงกลายเป็นสิ่งสามัญประจำบ้านที่ปะปนอยู่กับชีวิตสมัยใหม่อย่างแนบเนียน
Hidden in Plein Sight คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของศิลปินทีทัช หงษ์คงคา ศิลปินผู้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ พลาสติก และสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานกับวัสดุพลาสติกและพลาสติกเหลือใช้หลากประเภท โดยแปรเปลี่ยนกายภาพให้เป็นรูปลักษณ์ใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา ต่างจากภาพจำเดิมของวัสดุใช้แล้วทิ้งอันดาษดื่น ศิลปินนำเสนอพลาสติกในลักษณะสิ่งที่แฝงเร้นอยู่ในภูมิทัศน์ที่ดูไร้มลทิน โดยไม่ได้จำกัดบทบาทของพลาสติกเป็นเพียงมลพิษ แต่ศิลปินกลับนำเสนอให้เห็นถึง “การดำรงอยู่” ของพลาสติกในฐานะองค์ประกอบที่มีบทบาทในภูมิทัศน์ และมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่นั้น ผ่านรูปทรง สีสัน และพื้นผิวของตัวมันเอง ซึ่งมีอิทธิพลต่อมุมมอง วิธีคิด และวิธีการรับมือต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เกิดการปรับตัว นิทรรศการนี้จึงเชื้อเชิญให้ผู้ชม มองพลาสติกผ่าน “การมองเห็นใหม่” ที่ไม่เพียงแต่พิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเชื่อมโยงอันลึกซึ้งระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่ล้วนดำรงอยู่ในห้วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน
สำหรับทีทัช ประเด็นสำคัญไม่ได้มีเพียงการดำรงอยู่ของพลาสติกแค่เท่านั้น แต่ยังรวมถึง “บทบาท” ของพลาสติกด้วย แนวคิดนี้ของศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎี Actor-Network Theory [1] ที่มองว่าสรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่เพียงวัตถุนิ่งเฉยที่รอให้มนุษย์เข้ามากระทำกะเกณฑ์ หากแต่ทุกสิ่งสามารถเป็นหนึ่งใน “ผู้กระทำ” ที่ล้วนสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกันเสมอ ศิลปินมองว่าพลาสติกมิใช่เพียงขยะที่ไร้ชีวิต แต่เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พลาสติกจึงถูกมองว่าเป็นผู้กระทำหนึ่งที่มีความซับซ้อนและย้อนแย้งในตนเอง ทั้งที่มีศักยภาพในการทำหน้าที่หลากหลายเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ พลาสติกมักถูกกำหนดรูปร่างโดยวิธีที่ถูกใช้งาน สถานที่ที่ปรากฏ และสิ่งที่ไปเชื่อมโยงด้วย พลาสติกจึงไม่ได้ถูกนิยามแค่จาก “สิ่งที่มันเป็น” หากยังครอบคลุมถึง “สิ่งที่มันกระทำ” ด้วยเช่นกัน ชื่อของนิทรรศการ Hidden in Plein Sight เน้นย้ำถึงแนวคิดนี้ จากการเล่นคำ “plain sight” ที่แปลว่า “เห็นได้ชัด” กับคำว่า “plein” ที่อ้างอิงถึงการวาดภาพกลางแจ้ง (en plein air) เสมือนบอกว่าพลาสติกนั้นปรากฏอยู่ตรงหน้าเราตลอดเวลา อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง อยู่ในธรรมชาติ แต่เรามักมองข้ามไป ทั้งที่มันแทรกตัวเป็นส่วนหนึ่งของฉากนั้น และกำลังร่วมประกอบสร้างภูมิทัศน์ของมันเองอย่างเงียบงันและต่อเนื่องมาเสมอ
เมื่อกวาดสายตามองผลงานของทีทัช เราอาจสังเกตเห็นเค้าโครงของทิวทัศน์ที่ดูคุ้นเคย เช่น ภูเขา ท้องฟ้า กลุ่มเมฆ ที่มีสีสันสดใสแวววาวคล้ายภาพวาดสีน้ำมัน ดูมีมิติด้วยผิวสัมผัส เช่นในผลงานนามธรรมชื่อ The Ocean Blue ที่ชวนให้นึกถึงท้องทะเลอันไพศาล สีฟ้าสดของชิ้นงานยังจูงใจให้ผ่อนคลาย แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นชั้นพลาสติกโปร่งแสงที่ซ้อนกันจนเกิดมิติของความลึกจากแสงและเงา เอกลักษณ์ที่เพลินตาเช่นนี้ นับเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุพลาสติกที่สีธรรมดาให้ไม่ได้ จมอยู่ในชั้นคลื่นสีฟ้ายังมีเศษถุงพลาสติกแทรกอยู่ บางชิ้นยังมีฉลาก บางชิ้นถูกหลอมละลายจนดูไม่ออกว่าเคยเป็นอะไร นี่เปรียบเสมือนตอนเราชมวิวธรรมชาติในภาพกว้างแล้วอาจมองข้ามขยะเล็กๆ น้อยๆ ไปโดยไม่รู้ตัว ผลงานของทีทัชจึงเชื้อเชิญเราให้มองธรรมชาติรอบตัวอีกสักครั้ง ว่ามีอะไรที่เราตั้งใจมองข้ามไปหรือไม่ และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
วัตถุภาวะ[2] ของผลงานศิลปะของทีทัช พาผู้ชมไปพิจารณาถึงนำ้หนักของการตัดสินใจเกี่ยวกับพลาสติกในชีวิตประจำวัน ภาพจิตรกรรมนามธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ในขอบเขตทับซ้อนกันของความงามและความกระอักกระอ่วน ผลงานชื่อ A Starlit Night มีองค์ประกอบดูคล้ายกับทางช้างเผือกบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ชั้นเยื่อสีดำของถุงขยะหลายชั้นประปรายไปด้วยเศษถุงพลาสติกหลากสี และซองขนมขบเคี้ยวจากพลาสติกเคลือบฟอยล์ที่สะท้อนแสงระยิบระยับคล้ายหมู่ดาว ที่ศิลปินใช้ในงานชิ้นนี้เท่านั้น ถุงขยะสีดำเป็นหนึ่งตัวอย่างของพลาสติกที่เราเห็นจนชินตา ที่ยากจะหาวัสดุอื่นมาแทน ในขณะที่การลดใช้พลาสติกยังคงเป็นเรื่องสำคัญ นิทรรศการนี้ชวนให้ผู้เข้าชมมีปฏิสัมพันธ์กับพลาสติกอย่างตระหนักรู้มากขึ้น เช่นเรื่องทั่วไปอย่างการเลือกถุงขยะเอง ก็มีความละเอียดอ่อน จะเลือกบรรจุขยะในถุงพลาสติกแบบไหน? ถุงเหลือใช้ ถุงย่อยสลายได้ ถุงจากวัสดุรีไซเคิล หรือถุงราคาถูกคุณภาพต่ำ? ทุกทางเลือกล้วนมีผลกระทบต่อโลก และสำนึกของเราต่อโลกไม่มากก็น้อย ผลงาน A Starlit Night จึงไม่ได้นำเสนอพลาสติกแค่ในเชิงวัตถุ แต่ยังสะท้อนถึงความขัดแย้งกันระหว่างเจตนา ความสะดวก ความรับผิดชอบ และความเอื้ออำนวย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นเหมือนแรงสั่นสะเทือนเบาๆ แต่กระเพื่อมต่อไปถึงโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น
เราทุกคนอยู่ร่วมกันกับพลาสติกในโครงข่ายปฏิสัมพันธ์ทางเดียว ทุกวันเราอุปโภคพลาสติก และทุกวันเราตัดสินใจเกี่ยวกับพลาสติก การที่ศิลปินเลือกใช้วัสดุที่ถูกนิยามว่าเป็นตัวร้ายนี้ มาถ่ายทอดภาพภูมิทัศน์อันงดงาม ทีทัชได้สะท้อนความย้อนแย้งในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพลาสติก โดยความจริงที่ว่าพลาสติกนั้นสะดวกต่อการใช้งาน ทนทาน และราคาย่อมเยา ผู้คนมากมายจึงยังเลือกใช้ อาจจะด้วยเหตุผลด้านการใช้งาน หรือเพราะถูกจำกัดด้วยความจำเป็นอื่น ๆ แต่ทุกครั้งที่เราเลือกใช้ หรือเลือกทิ้งพลาสติก เรากำลังเจรจาต่อรองบางอย่างอยู่เสมอ ระหว่างผลประโยชน์และโทษ หรือระหว่างความตั้งใจดีกับข้อจำกัดในชีวิตจริง การตระหนักรู้ถึงการต่อรองแลกเปลี่ยนนี้ ช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างรอบด้านมากขึ้น และเข้าใจถึงบริบทของทางเลือกที่แตกต่าง นำไปสู่หนทางแห่งความยั่งยืนที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น
นิทรรศการ Hidden in Plein Sight ไม่ได้เพียงเปิดเผยสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ในทิวทัศน์ แต่ยังเปิดบทสนทนาใหม่ระหว่างเรากับสิ่งที่เราใช้ ชวนให้กลับมาทบทวนความสัมพันธ์ และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรา กับพลาสติก กับธรรมชาติ และกับการอุปโภคบริโภค และสำรวจการต่อรองที่เกิดขึ้นในทุก ๆ การใช้และการทิ้ง นิทรรศการนี้ไม่ใช่คำแก้ต่างให้พลาสติก หากแต่เป็นคำเชิญให้พินิจมันอีกครั้ง ผ่านการมองที่เปิดกว้างมากขึ้น ช้าลง และถี่ถ้วนมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อให้ “เห็น” สิ่งที่ซ่อนอยู่ในภูมิทัศน์ แต่ยังมองให้เห็น “สิ่งที่เราตั้งใจจะไม่เห็น” ด้วยเช่นกัน
[1] ชัชชล อัจนากิตติ. (2564). ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ (Actor-Network Theory) จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/236
[2] ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564) มานุษยวิทยาวัตถุ (Materiality and the Anthropology of Material Culture) จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/258