Overview

by Sakarin Krue-On
Curatorial essay by Rémy JarryThis photographic installation by Sakarin Krue-On (b. 1965) is a multilayered project. Its focus on the landscape doesn’t only reflect on art history and the artist’s past achievements but also on the environmental commitment of Warin Lab Contemporary.

The art of landscape
Chronicle being a historical account of events arranged in chronological order, this new show can be envisioned as an invitation to look back at the art of landscape. Known as shan shui (山水 literally mountain-water), the depiction of nature is one of the most treasured art genres in Chinese classical painting since the Tang Dynasty. The art of landscape (from Middle Dutch lantschap) has a relatively shorter history in Western Europe that goes back to the 16th century when it emancipated from the preferred genre of historical painting. Even though “the chronicle of the landscape” varies according to times and civilisations, Sakarin Krue-On succeeds here in articulating both Eastern and Western heritages. The sequenced and panoramic format of the installation can be seen as a monumental and photographic version of the Chinese handscrolls ink paintings and the Japanese ukiyo-e prints. In parallel, its contrasting colors and immersive scenography recall Claude Monet’s impressionist Water Lilies murals specifically conceived for the Musée de l’Orangerie in Paris. Meanwhile, it prolongs the history of photomurals, a new art form that has become prominent over the 20th century as shown by art historian Romy Golan.

The art of Sakarin Krue-On
This transcultural relevance is in keeping with the artist’s preceding works. The resonance of Chronicle of the Landscape is particularly compelling with Terraced Rice Field, Sakarin Krue-On’s land art installation transforming a sloping park in Kassel, Germany, into a paddy field. Conceived for documenta 12 in 2007, this art project was purposedly located in front of the Palace of Wilhelmshöhe, a neo-classical castle converted into a museum of fine art. Instead of representing any landscape, Sakarin Krue-On has “moved” a distinctive piece of land from Southeast Asia to Western Europe. Interestingly, this unframed landscape is still very much grounded on culture because of its collaborative nature and proximity to landscaping. Inheriting conceptual art, Terraced Rice Field even adds an emotional dimension due to the scale – 7000 sqm – and spectacularity of its man-made scenery. This reminds us of the deep meaning of the landscape: it enables artists to reveal the spiritual relationship of humans with nature. Sampled by artists from nature, the landscape remains first and foremost the mirror of the human condition in this world.

The topography of our times
15 years after the conceptual breakthrough of Terraced Rice Field, Sakarin Krue-On’s decision to return to mimesis in Chronicle of the Landscape is intriguing.  Apparently more conventional, the setting of this new landscape installation can turn out to be a trompe-l’oeil, like the backdrop of a studio for photo shoots or selfies.  All taken at eye level, the perspective of the photographs challenges our ability to discern the real from the fake.  At the same time, the artist’s subjectivity is contained, and his authorship is naturalised, dissolving into the landscape to test our visual literacy.  Thus, Chronicle of the Landscape opens windows to raise the viewer’s awareness of both the subject and the medium.  In this regard, the reliability of photography as a medium to picture the world has been increasingly contested despite its pervasiveness in our digital age. Fostering overconsumption of images and the virtualisation of our own existence, the lens of the camera tends also to distort reality.  In the meantime, our tangible environment is increasingly unstable. The irreversible and intensifying human impact on Earth’s geology and ecosystems has heralded a new epoch: the Anthropocene. Using photography for the first time in his work, Sakarin Krue-On stages the ongoing mutation of the relationship of humankind with both the natural and the media environments. While pursuing the legacy of landscape art history, Chronicle of the Landscape adds a new chapter.

 

ศิลปิน : สาครินทร์ เครืออ่อน
บทความโดย : เรมี่ จารี่

ศิลปะภาพถ่ายแบบจัดวาง โดย สาครินทร์ เครืออ่อน เป็นผลงานที่ยกเอาภาพทิวทัศน์มาถ่ายทอดในหลายแง่มุม นอกจากถ่ายทอดความหมายทางประวัติศาสตร์ศิลปะและอ้างอิงถึงผลงานที่ผ่านมาของศิลปินแล้ว ยังเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายของวารินแล็บ คอนเท็มโพรารีในการพูดถึงปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ศิลปะแห่งภาพทิวทัศน์
เช่นเดียวกับจดหมายเหตุที่มีการบันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา นิทรรศการนี้เปรียบเสมือนคำเชื้อเชิญ ที่ชวนให้ย้อนมองไปถึงอดีตของศิลปะแห่งภาพทิวทัศน์ ภาดวาดที่รู้จักกันในนาม ฉานสุ่ย (shan shui) แปลตรงตัวว่าภูเขาและน้ำ ภาพวาดแบบดั้งเดิมที่พรรณนาถึงธรรมชาติ เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่าที่สุดแขนงหนึ่งของวัฒนธรรมจีนตั้งแต่ราชวงศ์ถัง (ค.ส. 618-907) ในแถบยุโรปตะวันตก The art of Landscape (หรือสะกด lantschap ในภาษาดัตช์กลาง) มีประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างสั้นกว่า เนื่องจากศิลปะแขนงนี้เพิ่งแยกตัวออกจากภาพวาดทางประวัติศาสตร์แขนงอื่นที่เป็นที่นิยมมากกว่าในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึงแม้ว่า ‘จดหมายเหตุแห่งศิลปะภาพทิวทัศน์’ จะแตกต่างกันตามยุคสมัยและความศิวิไลซ์ ศิลปินได้เชื่อมโยงเอาทั้งมรดกของโลกตะวันออกและตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันในผลงานชุดนี้ รูปแบบของภาพทิวทัศน์และการเรียงลำดับเป็นแนวยาว เหมือนอนุสรณ์ที่ชวนให้นึกถึงภาพม้วนที่วาดด้วยหมึกของจีน และภาพพิมพ์อูกิโยเอะ (ukiyo-e) ของญี่ปุ่น ที่มาในรูปแบบของภาพถ่าย ในทิศทางเดียวกันรูปแบบของสีและทัศนียภาพที่ชวนดื่มด่ำ ยังทำให้เรานึกถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังอิมเพรสชันนิสต์ Water Lilies ของ คลอด โมเนต์ ที่สร้างสรรค์ให้กับ Musée de l’Orangerie ในกรุงปารีส

ศิลปะของสาครินทร์ เครืออ่อน
การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ศิลปินใส่ลงไปในผลงานอย่างต่อเนื่อง เสียงสะท้อนกังวานของ Chronicle of the Landscape นั้นชัดเจนโดยเฉพาะเมื่อนึกถึงผลงาน Terraced Rice Field งานศิลปะจัดวางของสาครินทร์ ที่เปลี่ยนพื้นที่เนินสูงบริเวณหน้าปราสาท Wilhelmshöhe ยุคนีโอคลาสสิคซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ในเมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมัน ให้กลายเป็นทุ่งนาขั้นบันได ในช่วงนิทรรศการ documenta 12 เมื่อปี 2007  ศิลปินเลือก ‘ย้าย’ พื้นที่ที่มีอัตตลักษณ์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่ยุโรปตะวันตก แม้จะเป็นภาพทิวทัศน์ที่ไม่เป็นที่คุ้นเคย  แต่ผลงานนี้เป็นทิวทัศน์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ Terraced Rice Field ไม่เพียงสืบทอดศิลปะเชิงแนวคิด แต่ยังสร้างมิติทางอารมณ์ด้วยพื้นที่ถึง 7000 ตารางเมตร และทัศนียภาพที่สร้างโดยมนุษย์อย่างน่าประทับใจ งานชิ้นนี้ย้ำเตือนถึงความหมายอันลึกซึ้งของภาพทิวทัศน์ที่ศิลปินได้เผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ผลงานของศิลปินเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ภาพทิวทัศน์ยังคงเป็นสิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดในการสะท้อนสภาวะของมนุษย์ในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้

ภูมิลักษณ์ในเวลานี้
วันนี้ เป็นเวลา 15 ปีหลังจากที่ความคิดนอกกรอบในงาน Terraced Rice Field ได้แสดงสู่สาธารณชน  การกลับมาทำงานจำลอง (mimesis) ในผลงาน Chronicle of the Landscape ของสาครินทร์ นั้นน่าสนใจอย่างยิ่ง แต่มาในรูปแบบที่เราคุ้นเคยมากขึ้น ลักษณะการติดตั้งของภาพถ่ายทิวทัศน์นี้ ทำให้ดูเหมือนผลงานภาพศิลปะลวงตา (trompe-l’oeil) เหมือนฉากหลังของสตูดิโอสำหรับถ่ายภาพหรือเซลฟี่ (selfies)  ภาพทิวทัศน์ที่ถูกถ่ายในระดับสายตา มุมมองที่เห็นของทั้งแต่ละภาพนั้นท้าทายความสามารถของผู้ชมในการแยกแยะความจริงและสิ่งลวงตา ในขณะเดียวกันมุมมองส่วนตัวของศิลปินถูกถ่ายทอดลงไปในภาพ ความเป็นเจ้าของผลงานถูกปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หล่อหลอมรวมกับทิวทัศน์ เพื่อทดสอบความสามารถในการมองเห็นของเรา ดังนั้น Chronicle of the Landscape จึงเปิดช่องให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงทั้งสาระสำคัญของผลงาน และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ ความน่าเชื่อถือของการใช้ภาพถ่ายเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ  ในโลกนั้นถูกท้าทายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล เลนส์ของกล้องนั้นทำให้ภาพโค้งเอียงและบิดเบือนจากความเป็นจริง สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคภาพถ่ายเกินจำเป็นและการสร้างโลกเสมือนจริงของการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมในโลกที่จับต้องได้นั้นมีความแปรปรวนมากขึ้นเรื่อยๆ ความสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับมาได้ของธรณีวิทยาและระบบนิเวศ  อันเป็นผลกระทบรุนแรงที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ สิ่งเหล่านี้กำลังกู่ร้องถึงช่วงเวลาใหม่ที่เรียกว่า ยุคมนุษยสมัย (the Anthropocene)

นิทรรศการนี้เป็นครั้งแรกของศิลปินในการใช้ภาพถ่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ สาครินทร์ได้ถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของสื่อที่กำลังเกิดขึ้น Chronicle of the Landscape คือประวัติศาสตร์บทใหม่ที่สานต่อประวัติศาสตร์ศิลปะภาพทิวทัศน์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน

 

Artists

Curatorial Collaborator