November 8, 2022 - January 14, 2023 - Warin Lab Contemporary

Overview


Arahmaiani
Curated by Loredana Pazzini-Paracciani
Returning to Thailand after almost 3 decades, Indonesian artist and activist Arahmaiani develops the composite project titled Nomadic Ecologies in collaboration with Warin Lab Contemporary, Bangkok, and Patani Artspace, Pattani. Stemming from Arahmaiani’s ongoing commitment to human rights and the liberty to protect our ecosystem, Nomadic Ecologies is conceived as a two-part project, a residency and exhibition, and it hinges on two main concepts, community collaboration and environmental sustainability. To do so, Nomadic Ecologies expands on Arahmaiani’s long-running series Flag Project (2006) and Memory of Nature (2013) through new works created specifically for this project. Geographically, Nomadic Ecologies starts in Pattani, one of the three provinces of the Deep South, along with Yala and Narathiwat, an area in Thailand known for its growing violence and suppression of Islam and non-mainstream religions. During her residency at Patani Artspace in October 2022, Arahmaiani worked closely with the local communities to create 11 new flags for Flag Project Thailand. Each flag features a word handstitched in Thai, Jawi or Malay of significance to the local communities relating to the social, environmental and religious challenges they face daily.  Flag Thailand Project presents the following words; Patani, Prosperous, Descendant, Guarding, Courage, Nature, Peace, Justice, Water, Faith, and Protection.These flags become the centerpieces of Arahmaiani’s evocative new video work titled Ecology of Peace, shot at distinctive locations in Pattani – beaches, rice fields and coconut forests – to highlight the natural beauty of the Deep South in the face of persisting conflict.Warin Lab Contemporary is delighted to present an immersive installation of Arahmaiani’s practice, whereby the newly conceived flags and video work are in conversation with the mixed-media work Memory of Nature created on-site in response to the need to connect with and appreciate our earth. Composed of freshly turned soil with seeds, Memory of Nature will sprout and grow over time in the gallery, inviting reflections on the power of nature. The archival section at Warin Lab Contemporary complements the presentation of Arahmaiani’s long-term Flag Project, bringing to the fore her continuous support to the communities.Developed across two geographically diverse spaces, the composite nature of Nomadic Ecologies on one hand aims at connecting various Thai communities on the grounds of cultural diversity, and on the other explores Arahmaiani’s own nomadic life – as she makes her home with the communities she engages with. Having spent almost four decades as a nomad, she has learned to value ideological, racial and political differences towards mutual collaborations for the benefit of humankind, and for the preservation of nature. With this perspective, Arahmaiani through her art becomes the very vehicle for communication, peace and humanity.

 

 

ศิลปิน : อาราไมอานี
ภัณฑารักษ์ : ลอเรดานา ปาซซินี ปาราซซินี

อาราไมยานี ศิลปินและนักเคลื่อนไหวชาวอินโดนีเซีย ได้กลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้งจากคำเชิญของวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี หลังจากที่ได้เคยพำนักในประเทศไทยเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว  วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี เชิญอาราไมยานีเข้าเป็นศิลปินพำนัก ที่ Patani Artspace ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับชุมชนมุสลิมในประเทศไทยในโครงการ Nomadic Ecologies

อาราไมยานี เป็นศิลปินที่มีตัวตนชัดเจน ผลงานของเธอสะท้อนการขับเคลื่อนในเรื่องสิทธิมนุษยชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ  โครงการ Nomadic Ecologies ประกอบด้วยการทำงาน 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนในจังหวัดปัตตานี และส่วนที่ 2 เป็นการแสดงสดและจัดแสดงผลงานที่วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี กรุงเทพฯ โดยสร้างสรรค์ผลงานใหม่ต่อเนื่องจากโครงการ ศิลปะระยะยาวของเธอในชุด Flag Project (2006) และ Memory of Nature (2013) ซึ่งมีประเด็นหลักด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และความยั่งยืน ทางสิ่งแวดล้อม

โครงการ Nomadic Ecologies เริ่มต้นจากสุดเขตแดนใต้ของประเทศไทย ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นพื้นที่แห่งความรุนแรง และความขัดแย้งระหว่างคนไทยต่างศาสนา Flag Project Thailand ที่จัดแสดงที่วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ประกอบด้วยธงที่ทำขึ้นใหม่ 11 ผืน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของชุมชนในช่วงระหว่างที่ศิลปินพำนักอยู่ที่ Patani Artspace ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ธงแต่ละผืนจะมีคำที่มีความหมาย 1 คำเย็บอยู่บนธง โดยมีทั้งตัวอักษรภาษายาวี ภาษาไทย และภาษามาเลย์ แต่ละคำเป็นคำที่ชุมชนเป็นผู้เลือกซึ่งเป็นภาพสะท้อนถึงสภาวะสังคม สิ่งแวดล้อม และความท้าทายด้านศาสนา ที่ชุมชนกำลังเผชิญอยู่  คำที่เย็บบนธงใน Flag Project Thailand ประกอบด้วยคำที่มีความหมายเป็นภาษาไทยดังนี้ ปาตานี ความเจริญรุ่งเรือง ผู้สืบทอด กล้าหาญ ธรรมชาติ สันติ ยุติธรรม น้ำ ความเชื่อ และปกป้อง

ผืนธงเหล่านี้ยังเป็นหัวใจหลักในผลงานอีกชิ้นหนึ่งของเธอ โดยอาราไมยานีสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอขึ้นใหม่ชื่อว่า Ecology of Peace ซึ่งเดินเรื่องด้วยผืนธงเหล่านี้  เธอถ่ายทำวิดีโอในหลายพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี อาทิ ชายหาด ทุ่งนา สวนมะพร้าว เป็นต้น แสดงให้เห็นความงดงามของพื้นที่แม้ว่าจะเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้ง

นิทรรศการ Nomadic Ecologies จัดแสดงผลงานที่สร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ชมในหลายมิติ โดยผลงานจัดวาง และวิดีโอชุด Flag Project Thailand สื่อสารสอดคล้องกับผลงานสื่อผสม Memory of Nature ซึ่งประกอบด้วยกระบะดินที่เพาะเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งจะเติบโตตลอดช่วงระยะเวลาของนิทรรศการ แสดงถึงความสำคัญของการเชื่อมโยง และเห็นคุณค่าของผืนดิน รวมทั้งเชื้อเชิญให้ผู้ชมงานเล็งเห็นพลังแห่งธรรมชาติ  นอกจากนี้ นิทรรศการยังมีห้องจดหมายเหตุซึ่งรวบรวมข้อมูลและรูปภาพของโครงการ Flag Project ที่ศิลปินเคยได้ทำในประเทศต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นการทำงานศิลปะของเธอที่สนับสนุนชุมชนในสถานที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

โครงการ Nomadic Ecologies มีองค์ประกอบที่ถูกพัฒนาใน 2 พื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์และสังคม ในแง่มุมหนึ่งโครงการนี้เปิดประตูความเข้าใจระหว่างคนไทยต่างพื้นที่บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในอีกแง่หนึ่งเป็นการสะท้อนชีวิตแบบเร่ร่อนของตัวอาราไมยานีเอง เธอใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของเธอตลอดชีวิตการทำงานศิลปะมากกว่า 40 ปี  ซึ่งทำให้เธอได้ตระหนักถึงคุณค่าความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ความคิด และการเมือง ซึ่งหากสามารถร่วมมือกันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และด้วยอุดมการณ์นี้ อาราไมยานี ได้ใช้ศิลปะเป็นตัวขับเคลื่อนการสื่อสาร  สันติภาพ และมนุษยธรรม

 

Artists

Curator