NEWS » News, SWAMPED

4 ศิลปินสร้างศิลปะจากขยะที่ท่วมเมือง

ลองมองปัญหา “ขยะ” ผ่านงานศิลปะ ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะต้องแบกรับขยะมหาศาลที่ไม่ได้ถูกกำจัด ไม่ใช่แค่ขยะพลาสติก แต่ยังมีภาชนะบรรจุอาหาร ของเล่นเด็ก เฟอร์นิเจอร กล่องพัสดุ กระเป๋า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลต่อระบบนิเวศ และสุขภาพคน

 

นิทรรศการเป็นผลงานของ 4 ศิลปิน ได้แก่ ธนวัต มณีนารา เจ้าของผลงานที่ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุหลักของปัญหาขยะนั่นคือมนุษย์ ถ่ายทอดต่อไปยังเพลินจันทร์ วิญญรัตน์ เจ้าของผลงานเชิงสัญลักษณ์ในสภาพของสังคมที่แวดล้อมไปด้วยขยะ สู่การตั้งคำถามกับพฤติกรรมของตนผ่านผลงานประติมากรรมและการแสดง โดย ทวีศักดิ์ พูลสวัสดิ์ พร้อมเสียงบรรยากาศประกอบที่ประพันธ์โดย นท พนายางกูร ที่สื่อความหมายถึงการกระทำของมนุษย์ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นิทรรศการเข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้ – 21 เมษายน 2564 ณ วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ศูนย์การค้า โอ.พี. การ์เด้น  

 สุคนธ์ทิพย์ ประหารภาพ ผู้ก่อตั้ง วารินแล็ป คอนเท็มโพรารี่ กล่าวว่า วารินแล็ปต้องการสร้างพื้นที่ศิลปะที่บอกเล่าปัญหาสังคม และด้วยสถานที่ตั้งแห่งนี้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของเรา เพราะเป็นที่ตั้งของนิยมไทยสมาคมของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงนำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาจัดนิทรรศการเปิดตัววารินแล็ป เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว โดยตลอดปี 2564 จะจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 5 นิทรรศการ

ผู้ก่อตั้ง วารินแล็ป กล่าวต่อว่า ประเดิมด้วยนิทรรศการที่จัดขึ้น ณ เวลานี้ คือ ขยะ ที่โฟกัสเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งขยะนั้นมีความสำคัญสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาใช้ซ้ำผ่านกระบวนการรีไซเคิล การซ่อมแซม ตกแต่ง การประดิษ ฐ์หรือแปรเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้เป็นสิ่งของใหม่ เพื่อเป็นการลดการบริโภคทรัพยากรใหม่โดยไม่จำเป็น แต่ความมักง่ายและรักสบายของมนุษย์ต่างหากที่ก่อให้เกิดขยะท่วมล้นโลกเพื่อให้ของเหล่านี้ที่จะกลายเป็นขยะมีอายุนานขึ้น ใช้ได้มากขึ้นหรือเกิดเป็นขยะให้น้อยที่สุด

“มุมมองที่บอกว่า ขยะคือผู้ร้าย แต่แท้จริงแล้วก็คือมนุษย์ที่เป็นสาเหตุในการให้เกิดปัญหาขยะท้วมในปัจจุบัน  ซึ่งขยะทีนำสร้างผลงานก็ได้รับการบริจาคมาจากบริษัท ห้างสรรพสินค้าต่างๆ นังสสรค์ผลงานโดย 4 ศิลปิน ที่มีแนวคิดหรือทำงานเกี่ยวกับเรื่องขยะ เมื่อผู้คนได้เข้ามาชมก็จะได้รับรู้ถึงจุดเริ่มต้นของสาเหตุ ไปจนถึงการตระหนักรู้ในการจัดการ สำหรับนิทรรศการต่อไป คือ ประเด็นสัตว์สูญพันธุ์, อากาศ, การทิ้งขว้าง และ New Media หวังว่าตลอดการจัดนิทรรศการในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ศิลปะจะมีส่วนเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้ดีขึ้น” สุคนธ์ทิพย์  กล่าว 

สำหรับผลงานของศิลปินทั้ง 4 คน  เริ่มต้นด้วย ธนวัต เจ้าของงานศิลปะในรูปแบบการขึ้นรูปแบบลอยตัว ที่นำขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งมาสร้างสรรค์เป็นใบหน้าคนจำนวน 65 หน้า เพื่อสะท้อนถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะว่าสาเหตุหลักเป็นเพราะฝีมือคน ศิลปิน ยังบอกว่า เพราะคนนี่แหละที่ใช้สิ่งของเหล่านี้จนเกิดเป็นขยะแบบไม่เห็นค่า โดยเป็นขยะที่ตนเก็บมาจากบริเวณแถวบ้านภายใน 1 เดือน ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์ใช้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นโชว์เสื้อผ้า ผ้าพลาสติก ถังขยะ และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เป้นพลาสติกแบบต่างๆ ดังนั้นสำหรับตนแล้วก็อยากให้คนที่ได้มาชมอย่ามองว่าขยะเป็นแค่ขยะ แต่ขยะอาจจะสามารถนำกลับมาสร้างประโยชน์ได้

ผลงานสิ่งทอของ เพลินจันทร์ บอกว่า ผลงานชิ้นนี้มาจากขยะคนใช้แล้วทิ้ง โดยส่วนตนก็ชอบเก็บขยะจากที่ต่างๆ หรือจากที่บ้าน มาสร้างเป็นผลงานศิลปะ หรือทอเป็นผืนเพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง อย่างในผลงานครั้งนี้ที่ได้นำขวดพลาสติก และกระป๋องซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้ทำเพราะ การตัดกระป๋องมีความเสี่ยงที่อาจจะบาดมือ มาตัดเป็นเส้นและทักทอ ผสมรวมกับเศษแหที่พบในทะเล กระดาษรีไซเคิลที่นำมาทำเป็นเกลียว ขี้ด้ายจากโรงงานทอ  ซึ่งเส้นยืนที่นำมาใช้ก็คือ เส้นฝ้ายที่ใช้ทอพรหมให้โรงแรมแล้วเหลือทิ้ง ขนาดประมาณ 2.50×5.40 เมตร  ออกมาเป็นรูปทรงคล้ายๆกับคลื่น แต่เป็นคลื่นขยะด้านล่างผืนขยะก็จะเป็นกระป๋อง หรือเหรียญจากประเทศต่างๆ ที่ตนได้เก็บมาด้วย

ด้านทวีศักดิ์ สร้างงานประติมากรรม และศิลปะการแสดง เล่าว่า ผลงานที่ได้ทำขึ้นต้องการที่ตั้งคำถามกับคนที่มาชมงานว่าเราจะยังมีชีวิตอยู่ไหม โดยคำว่าเรา หมายถึง ทุกสิ่งบนโลก ที่จะสื่อถึงการเปลี่ยนทัศนคติในการมอง ด้วยการเริ่มต้นคิดก่อนทำ อย่าง ผ้าขนหนู ซึ่งเป็นงานแฮนด์เมด ที่ตกแต่งด้วยฝาขวดน้ำสีสันสวยงามจากฝีมือของชาวบ้านในชุมชนรอบบบ้านตน หรือกล่องพัสดุ ที่ใช้ในการขนส่งสิ้นค้า นับว่ายิ่งมีเพิ่มขึ้นจากการสั่งของออนไลน์ แม้กระทั่งกล่องแพคเกจจิ้ง ที่มักดึงดูดคนให้สนใจซื้อ แต่สักพักก็กลายเป็นขยะ สิ่งเหล่านี้อาจะทำให้คนได้ตั้งคำถามและสนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 

เพิ่มสุนทรีด้วยเสียงประกอบบรรยากาศแต่ละผลงานจาก นท นักร้องสาวที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม นท บอกว่า เสียงที่ได้ทำขึ้นนั้นเมื่อผู้คนที่มาชมได้เข้าไปใกล้ผลงานก็จะได้ยิน ยิ่งมีคนมากเสียงก็จะยิ่งดังขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อไหร่พื้นที่ไหนมีคนอยู่มาก พื้นที่นั้นก็จะเกิดความเสียหายในเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเสียงประกอบด้วย 4 แทร็ค คือ มีแอมเบียน ที่จะครอบคลุมทั้งนิทรรศการให้ทุกคนอยู่ในห้วงภวังค์ ด้านศิลปินธนวัต จะเป็นเสียงคนกิน เสียงบ่น ที่สื่อคนที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ส่วนศิลปินเพลินจันทร์ ที่ทำให้ขยะมีคุณค่ามากขึ้น ก็ได้ยินเสียงเพลงเพราะๆ และศิลปินทวีศักดิ์ จะเป็นเสียงน้ำ นก หรือธรรมชาติ หรือมีเสียงที่ขัดขึ้นมาเพื่อให้ขัดแย้งกับผลงาน