Curatorial essay by Loredana Pazzini-Paracciani
The idea of this exhibition is to reevaluate our own actions in the face of environmental destruction. To do so, Under the Dark Sun transforms Warin Lab into a small-scale echo chamber, a kind of incubator, where experiments are performed to contemplate transformations of our planet – where animals of diverse ecosystems interchange their functions, where oceans dry up, and oxygen runs out. It is apocalyptic and unreal. Or is it really?
Under the Dark Sun is a warning and, at the same time, an opportunity for change. It reminds us of the nurturing power of nature as a place for all species – an ecosphere in which sea and land creatures, and birds coexist. Yet, as environmental changes of great magnitude loom over us, Under the Dark Sun reflects on the possibility that nature may one day become no longer a hospitable but a dark place, where no light or life would be conceivable – the end of our planet or perhaps its transformation within the cycle of life.
In that, Under the Dark Sun is also a prophecy.
It is with this sense of awe and preoccupation that the artist approaches the exhibition, on one hand looking at the consequences of human behavior on the environment, and on the other highlighting the power that natural phenomena have had on human history, and on the history of the planet. The moon and the sun, for instance, with their phases and cycles, have guided our civilizations for millennia, determining crop sowing and harvests, migrations, and hunting and fishing seasons. What would this planet be like if the sun were obscured, and the moon depleted? Would their cycles still guide us? Could biodiversity still exist?
To address these questions, the artist proposes a series of mixed-media installations that hypothesizes a subversion of reality. The ambience is dark, as the gallery is cocooned in somber gray walls. At the far end, a light box in the shape of the moon gleams at us, while in the foreground a larger-than-life gorilla head greets the audience. As if waters were parting upon progressing into the space, we observe piles of fish scales scattered on the floor to form ripples or dunes, arranged geometrically on the walls, and covering entire animal figures. There is a pervasive sense of unease.
The inspiration for this layout and material (the dried fish scales) comes to the artist from her research on the Aral Sea in Central Asia, and its rapid disappearance. Effectively one of the largest saline lakes in the world, with an area of 68,000 km2, the Aral Sea began shrinking in the 1960s after the rivers that fed it were diverted by Soviet irrigation projects, until it almost fully dried up in 2014. To date, this is considered one of the most impactful environmental disasters of all time. The region’s ecosystem and once-prosperous fishery culture had been devastated, altering the local environment and marine biodiversity. Photos accessible online of the Aral Sea’s current conditions show a lunar-like landscape, with boats stuck in sand where once was water – the same surreal situation is evoked in Under the Dark Sun.
The main concern of the exhibition is, in fact, the crucial role of the marine ecosystem for the sustenance of life, from the Aral Sea to all bodies of water, and to all marine creatures. The ocean covers over 70% of the planet and it is the main source of the planet’s oxygen. It is home to most of Earth’s biodiversity, and it is fundamental to our livelihood. However, from the disastrous consequences of climate change causing abnormal water levels and temperatures, to irresponsible fishing, which not only impacts the marine biosphere but also fosters human slavery, to wanton garbage disposal, we are endangering the very survival of the ocean. Biologists, non-profit and environmental agencies are engaged in sustaining marine life, as are artists around the world. This same concern is, indeed, carried through in Under the Dark Sun and reflected in most of the works featured in the exhibition, especially, but not exclusively, using fish scales as a medium.
Above the shimmering ripples of fish scales on the floor, at eye level we find on one of the walls miniature sculptures, neatly assembled. On closer inspection, we realize that these small, contorted shapes are made of carved fish scales. Together, the sculptures seem to form the letters of an archaic alphabet – an unfamiliar language that attempts to acquaint us with the ocean’s depth. “Each fish scale was cut until bent,” the artist says, “the direction and degree of twisting the fish scale depends on its thickness, so it is impossible to predict what shape it will finally take. It is a mysterious process, whereby letters of a language we cannot read take form to tell us their stories.”
Not far from the wall installation, two large animals, the gorilla head mentioned earlier, and a peacock, stand in the middle of the gallery, fully or partially covered in white fish scales. Shaped like a crescent, the gorilla head is tilted at 45 degrees to the floor, highlighting its precarious balance. As the moon, the gorilla head is dark in front, covered in tiny knots of human hair tightly arranged around the face. The back of the head is convex and covered in fish scales, conferring an impression of translucency. Seen as a whole, the gorilla mask mimics the lunar phases – because the moon and the sun cycles affect all creatures on the planet. Next to it, a peacock towers over the space, emerging from ripples of fish scales, or, perhaps, collapsing into them. Despite its regal appearance, the peacock, unlike most birds, cannot fly long distances, its body trapped in its complex plumage – a dichotomy that fits the intent of the artist to highlight the wonders of nature, and its contrasts. In the exhibition, however, these two animals, and their conflicting mediums decisively at odds with each other (fish scales instead of fur and feathers), coexist in the same space, creating a contradiction of forms, and environment. Apparently placed at random, the artist’s careful arrangement hints to the fact that these creatures and their habitats that were once in harmony are now in desperate disarray.
This disharmony is visible not only through the impact on large animals, but also in relation to the tiny creatures and organisms that, despite their insignificant size, are able to tell us big stories and to show us big problems. They, too, contribute to the efficiency of the planet, and they too are now struggling to keep the balance. For instance, the work titled The Dark Moon, essentially a round light box that faces the viewers at the far end of the gallery, incorporates hundreds of minuscule termite wings stuck to the surface. “This work was born out of my interest on how termites behave during the change of season,” the artist says, “after the first rain they typically fly attracted by the light and then shed their wings – this is also a sign of the cycle of life.” Like the minutiae of The Dark Moon is the work titled Plankton, placed on the second floor. Made of fine human hair knitted together, the work presents samples of microorganisms, enlarged, and neatly encased in 49 acrylic boxes. Seen from the top the installation resembles a garden. The very word ‘plankton’, from ancient Greek meaning “drifter” or “wanderer”, refers to the myriad microorganisms that, as its etymology says, are carried by tides and currents, unable to move against these forces. As harmless and tiny as they are, these microorganisms are responsible for the photosynthesis of most of the oxygen on Earth along with seagrass. In fact, both species use carbon dioxide, water, and energy from the sun to make food for themselves, releasing oxygen in the process.
Among these mixed-media installations, Under the Dark Sun also encompasses several two-dimensional pieces. Next to Plankton there is a 100 x 120 cm canvas showing a minute fish scale, enlarged and transformed into a symbol of nature – a voluminous organic form or a massive protuberance that evokes a mountain. The work starts off as a monoprint using human hair as a base. Once the paint dries the artist removes the hair going over the marks with graphite, creating an intricate net of lines that confers to the original fish scale an otherworldly dimension. In fact, it is only when we see the actual fish scale, placed next to the canvas in a tiny box, and exposed in all its fragility, that we fully appreciate the relevance of all organisms. Furthermore, there is a suite of three paintings also in monochrome on the ground floor, along with the gorilla and the peacock sculptures. The works are created using a mix of acrylic and human hair applied several times on the canvas. Here, the use of graphite is in addition to the hair, used to draw over the marks left by the hair creating a free flow of lines and empty spaces that run throughout the surfaces. In between those spaces the nets of remaining hair generate unpredictable organic forms – fish, flowers or, indeed, plankton – with such intricacy that evoke iridescent embroideries. In fact, as we move around the canvases, we are able to perceive new forms and details shining through the surface as if observing a stream of water.
Whether pointing to the end of our planet or perhaps its unavoidable transformation, Under the Dark Sun raises ethical questions of balance and respect for mother nature. “I wanted for this exhibition to evoke environmental chaos and disarray,” tells the artist, “not only to imagine what the future of our planet might be like, but also to be reminded of how its life cycles should function” – and to never forget its intrinsic perfection.
บทความนิทรรศการโดย ลอเรดานา ปาซซินี ปาราซซิอานี
แปลโดย ธัญชนก เบญจจินดา
ใจความสำคัญของนิทรรศการนี้คือการทบทวนถึงการกระทำของเราในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม นิทรรศการ Under the Dark Sun ได้เปลี่ยนห้องจัดแสดงของวาริน แล็บ คอนเท็มโพรารี ให้กลายเป็นห้องแห่งเสียงสะท้อนขนาดย่อม เป็นห้องทดลองเพื่อใคร่ครวญถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ซึ่งสัตว์ในระบบนิเวศอันหลากหลายได้แลกเปลี่ยนบทบาท ที่ซึ่งมหาสมุทรแห้งขอดและออกซิเจนหมดลง ทั้งหมดนี้ดูจะคล้ายวันสิ้นโลกที่แปลกประหลาดจนไม่น่าเป็นจริงได้ แล้วคุณคิดว่ามันน่าจะเป็นจริงหรือไม่?
Under the Dark Sun เป็นทั้งสัญญาณเตือน และในเวลาเดียวกันก็ชี้โอกาสในการเปลี่ยนเปลง นิทรรศการนี้ชวนให้เรานึกถึงพลังในการโอบอุ้มเลี้ยงดูสิ่งมีชีวิตของธรรมชาติ เป็นนิเวศที่ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน มนุษย์กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนทางสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่และ Under the Dark Sun ก็สะท้อนว่าธรรมชาติเอง ก็อาจจะดับสูญลงในสักวันหนึ่ง กลายเป็นสถานที่มืดมน ไร้ความอารี ไร้แสง และไร้ชีวิต เป็นจุดสิ้นสุดของโลก หรืออาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านในวัฏจักรของโลก
ฉะนั้น Under the Dark Sun จึงเป็นคำพยากรณ์ถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ความสะเทือนใจและความกังวลในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นรากฐานที่ศิลปินกลั่นความคิดออกมาเป็นนิทรรศการนี้ ในแง่หนึ่งศิลปินสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ และอีกแง่หนึ่งสื่อสารถึงอิทธิพลของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่อประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และต่อประวัติศาสตร์ของโลกในฐานะดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นพระจันทร์และพระอาทิตย์ ทั้งสองต่างเกี่ยวพันกับโลกในฐานะดาวบริวารและดาวฤกษ์ ที่ได้สร้างอารยธรรมของมนุษย์มานับพันปี ทั้งกำหนดช่วงเวลาเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว การย้ายถิ่น ฤดูล่าสัตว์และฤดูตกปลา ถ้าหากวันหนึ่งดวงอาทิตย์ถูกบดบังและดวงจันทร์ดับแสงลง ดาวโลกดวงนี้จะเป็นอย่างไร? วัฏจักรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะยังนำทางเราอยู่หรือไม่? ความหลากหลายทางชีวภาพจะยังคงอยู่ได้หรือไม่?
ศิลปินเลือกตอบคำถามเหล่านี้ผ่านการนำเสนอชุดผลงานศิลปะจัดวางสื่อผสม ที่ตั้งสมมติฐานบนความเหนือจริง ท่ามกลางบรรยากาศมืดสลัวในห้องจัดแสดงสีเทาหม่น หัวกอริลลาขนาดใหญ่เกินจริงคอยต้อนรับผู้มาเยือนที่ด้านหน้าสุด ถัดไปคือเกล็ดปลาจำนวนมหาศาลบนพื้นห้องที่ดูราวกับระลอกคลื่นกำลังแยกออกจากกันเมื่อก้าวเข้าสู่ห้องนิทรรศการ และที่ผนังด้านในสุดมีกล่องไฟรูปดวงจันทร์ส่องแสงมายังผู้เข้าชม นอกจากนี้ยังมีเกล็ดปลาที่กองกระจัดกระจายคล้ายเนินทรายบนพื้น เรียงกันเป็นรูปทรงเรขาคณิตบนผนัง และกระทั่งปกคลุมร่างของสัตว์ทั้งหมด แน่นอนว่าความรู้สึกที่ได้รับจากนิทรรศการนี้คือความไม่สบายใจ
แรงบันดาลใจสำหรับการจัดวางชิ้นงานและมวลเกล็ดปลาของศิลปิน เริ่มมาจากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทะเลอารัลในเขตเอเชียกลางที่ลดขนาดลงอย่างรวดเร็ว ทะเลอารัลซึ่งเคยเป็นหนึ่งในทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่กว่า 68,000 ตารางกิโลเมตร เริ่มลดขนาดลงในช่วงปี พ.ศ. 2503 และแห้งขอดลงเกือบทั้งหมดในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นผลจากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสาบถูกเปลี่ยนเส้นทางโดยโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียต นี่ถือเป็นภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบมากที่สุดครั้งหนึ่งของโลก สภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในทะเลสาบสูญสิ้นไป ระบบนิเวศและการประมงที่เคยเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้ล่มสลายลง รูปภาพของทะเลอารัลในปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงทะเลที่เว้าแหว่งคล้ายจันทร์เสี้ยว และซากเรือที่ติดอยู่บนผืนทรายอันแห้งแล้ง สถานการณ์เหนือจริงแบบเดียวกันนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใน Under the Dark Sun
ประเด็นหลักของนิทรรศการนี้ คือการชี้ให้เห็นบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดของระบบนิเวศทางทะเลในการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศทั้งที่ทะเลอารัลและแหล่งน้ำอื่นๆ มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 70% ของพื้นโลก เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนหลัก เป็นแหล่งกำเนิดความหลากหลายทางชีวภาพที่ใหญ่ที่สุด และเป็นรากฐานการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ แต่ทว่า มนุษย์กลับกลายเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมหาสมุทร จากผลพวงอันเลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้ระดับน้ำและอุณหภูมิผิดปกติ การทำการประมงอย่างไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวมณฑลทางทะเลเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การค้าแรงงานทาสบนเรือประมง ไปจนถึงการทิ้งขยะอย่างไร้จิตสำนึก การกระทำเหล่านี้กำลังชี้ชะตาของแหล่งน้ำทั่วโลก บรรดานักชีววิทยา องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม และศิลปินทั่วโลก ต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตทางทะเล เช่นเดียวกับนิทรรศการ Under the Dark Sun ที่ผลงานส่วนใหญ่สะท้อนถึงประเด็นเร่งด่วนนี้ ผ่านการใช้เกล็ดปลาเป็นสื่อกลาง
เหนือกระเพื่อมเกล็ดปลาที่พร่างพราวบนพื้น ผู้ชมจะพบชิ้นงานขนาดเล็กที่เรียงกันอยู่อย่างประณีตบนผนังด้านหนึ่งในระดับสายตา เมื่อเพ่งมองอย่างใกล้ชิด จะพบว่าวัตถุรูปร่างบิดเบี้ยวเล็กๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเส้นเกล็ดปลาที่ถูกกรีดและตัดแต่ง ศิลปินทำงานกับเกล็ดปลาจนมีลักษณะคล้ายกับตัวอักษรโบราณ ซึ่งเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคยแต่พยายามเชื่อมโยงตัวเราให้สื่อสารกับเบื้องลึกของมหาสมุทร ศิลปินกล่าวว่า “เกล็ดปลาแต่ละชิ้นจะถูกกรีดจนกว่าจะโค้งงอ ทิศทางและองศาของการบิดนั้นขึ้นอยู่กับความหนาของเกล็ดปลา เพราะฉะนั้นเราแทบเดาไม่ได้เลยว่ามันจะออกมาเป็นรูปร่างแบบไหน มันเป็นกระบวนการที่น่าพิศวงมาก ที่ตัวอักษรจากภาษาที่เราไม่เข้าใจได้ก่อรูปร่างขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวแก่เรา”
บริเวณกลางห้องจัดแสดงไม่ไกลจากตัวอักษรบนผนัง ศิลปินวางประติมากรรมรูปสัตว์สองชิ้น คือ หัวกอริลล่า และนกยูง ซึ่งปกคลุมด้วยเกล็ดปลาสีขาว ประติมากรรมหัวกอริลล่าตั้งเอน 45 องศาจากพื้น เกิดเป็นรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยวที่ดูไม่มั่นคง ด้านหน้าของชิ้นงานมีสีเข้มจากปมผมที่ติดเรียงกันแน่นล้อมกรอบหน้ากอริลล่า ตัดกันกับด้านหลังที่มีความโปร่งแสงจากวัสดุเกล็ดปลาที่ติดบริเวณท้ายทอยศีรษะที่นูนออก ผลงานชิ้นนี้อ้างอิงปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม ที่การโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งมีชีวิตบนโลก วางข้างกันคือประติมากรรมนกยูงที่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่น ดูราวกับกำลังโผล่พ้นขึ้นมาจากระลอกคลื่นเกล็ดปลา หรืออาจกำลังพังทลายลงไปเป็นส่วนหนึ่งของคลื่น ด้วยลักษณะของนกยูงที่ดูสง่างามโออ่า ดูสะดุดตาต่างจากนกชนิดอื่น แต่กลับบินได้เพียงระยะสั้นๆ เพราะลักษณะทางกายภาพที่มีขนอันซับซ้อน สะท้อนถึงสองขั้วตรงข้ามที่ศิลปินต้องการพูดถึงในบริบทของความมหัศจรรย์ของธรรมชาติและสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงประติมากรรมรูปสัตว์ทั้งสองปกคลุมด้วยวัสดุอันห่างไกลจากความจริง (ไม่ใช่ขนสัตว์หรือขนนก แต่กลับกลายเป็นเกล็ดปลา) สร้างความรู้สึกที่ดูขัดแย้งในพื้นที่เดียวกัน ทั้งในด้านรูปร่าง และสภาพแวดล้อม การจัดวางในลักษณะนี้ ศิลปินบอกเป็นนัยว่าสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่ของพวกมันครั้งหนึ่งเคยดำรงและดำเนินตามวิถีธรรมชาติแต่กลับกลายเป็นความน่ากังวลในปัจจุบัน
ความผิดปกตินี้ ไม่เพียงแต่สร้างความพลิกผันต่อสัตว์ใหญ่เท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงสิ่งมีชีวิตระดับจุลินทรีย์ แม้ว่าขนาดเล็กจิ๋วแต่สามารถชี้ให้เห็นปัญหายิ่งใหญ่ สัตว์ขนาดเล็กที่เป็นหน่วยหนึ่งในธรรมชาติมีความข้องเกี่ยวในขับเคลื่อนความสมดุลของโลก สัตว์เหล่านี้ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติเฉกเช่นเดียวกัน ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยส่วนประกอบของสัตว์หน่วยเล็กๆ เช่น The Dark Moon ซึ่งเป็นกล่องไฟทรงกลมปกคลุมด้วยปีกแมลงเม่าที่ทั้งเล็กและบางจำนวนหลายร้อยชิ้น ศิลปินกล่าวว่า “งานชิ้นนี้เกิดขึ้นจากความสนใจของฉันเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมลงเม่าและปลวกในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล หลังฝนแรกพวกมันจะบินเข้าหาแสงไฟและละปีกของตัวเอง พฤติกรรมเช่นนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของวัฏจักรแห่งชีวิต” นอกจากนี้ ยังมีอีกผลงานชื่อ Plankton อยู่บนชั้นที่สองของหอศิลป์ โดยนำเสนอกลุ่มตัวอย่างจุลินทรีย์ที่ขยายสัดส่วนขึ้นมาด้วยเทคนิคถักทอเส้นผมของมนุษย์ วางอยู่ในกล่องอะครีลิคเรียงกัน 49 ชิ้น ที่มองดูคล้ายสวนหย่อม คำว่า ‘แพลงก์ตอน’ มาจากภาษากรีกโบราณ แปลว่า “คนเร่ร่อน” หรือ “ผู้พเนจร” หมายถึงจุลินทรีย์จำนวนมากมายที่ถูกคลื่นและกระแสน้ำพัดพาไปอย่างไม่สิ้นสุด ไม่สามารถเคลื่อนที่เอง หรือต้านทานแรงเหล่านี้ได้ ซึ่งตรงตามรากศัพท์เดิม จุลินทรีย์ขนาดเล็กจิ๋วที่ดูไม่มีพิษภัยเหล่านี้เป็นผู้สร้างออกซิเจนส่วนใหญ่บนโลกคู่กับหญ้าทะเล ทั้งสองสายพันธุ์ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อสร้างอาหารให้ตัวเอง และปล่อยออกซิเจนออกมาระหว่างกระบวนการการสังเคราะห์แสง
นอกจากงานศิลปะจัดวางสื่อผสมที่กล่าวมา นิทรรศการ Under the Dark Sun ยังนำเสนอผลงานสองมิติหลายชิ้น ถัดจาก Plankton ศิลปินแขวนผืนผ้าใบขนาด 100 x 120 ซม. เป็นรูปเกล็ดปลาเพียงหนึ่งชิ้นแต่ขยายใหญ่จนเต็มผ้าใบ ที่อาจมองเห็นเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ เป็นรูปร่างมโหฬารที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หรือภูเขามหึมา ศิลปินเริ่มจากการพิมพ์ด้วยเทคนิค Monoprint โดยใช้เส้นผม เมื่อสีแห้งศิลปินขูดเส้นผมออกและใช้กราไฟท์ลากไปบนรอยพิมพ์ เพื่อสร้างเส้นสายที่ซับซ้อนคล้ายกับลวดลายบนเกล็ดปลาต้นแบบ แต่ดูมีมิติพิสดารไปจากเดิม ยิ่งเมื่อได้เห็นเกล็ดปลาของจริงที่ตั้งอยู่ข้างชิ้นงานในกล่องใสเล็กๆ เราตระหนักได้ถึงความเปราะบาง และรับรู้ถึงความเกี่ยวพันกันของทุกชีวิต นอกจากนี้ ที่ชั้นล่างของหอศิลป์ยังมีชุดภาพวาดขาวดำจำนวนสามชิ้น จัดวางในพื้นที่เดียวกันกับประติมากรรมนกยูงและกอริลล่า ผลงานนี้สร้างขึ้นโดยใช้สีอะคริลิกผสมกับเส้นผมของมนุษย์ ทาบนผืนผ้าใบหลายชั้น และใช้กราไฟท์วาดทับบนรอยที่เส้นผมทิ้งไว้ ทำให้เกิดลายเส้นสลับกับพื้นที่ว่างทั่วพื้นผิวของชิ้นงาน เส้นผมที่ยังเหลืออยู่คอยเชื่อมโยงช่องว่างเหล่านั้น เกิดเป็นร่างแหที่พัวพันคล้ายงานปักสีเหลือบรุ้ง ดูเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คาดเดาไม่ได้ อาจจะดูคล้ายปลา ดอกไม้ หรือกระทั่งแพลงก์ตอน และยิ่งผู้ชมได้ลองมองงานชิ้นนี้จากองศาอื่น ก็จะยิ่งเห็นรูปทรงใหม่ๆ และรายละเอียดใหม่ๆ ที่ส่องประกายออกมา ราวกับว่าเรากำลังเฝ้าดูสายน้ำที่กำลังไหล
นิทรรศการ Under the Dark Sun อาจจะชี้ประเด็นจุดสิ้นสุดของโลกหรือการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่แน่นอนคือทำให้เกิดคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกับดุลยภาพและการเคารพธรรมชาติ ศิลปินกล่าวว่า “ฉันต้องการให้นิทรรศการนี้กระตุ้นเตือนถึงหายนะด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เพื่อจินตนาการว่าอนาคตของโลกของเราจะเป็นเช่นไร แต่เพื่อเตือนสติให้เราหวนคิดว่าวัฏจักรของชีวิตแท้จริงแล้วควรจะดำเนินไปอย่างไร” และเพื่อที่เราจะไม่มีทางลืมว่าธรรมชาติคือความสมบูรณ์แบบโดยแท้จริง