April 6 - May 25, 2024 - Warin Lab Contemporary

Overview

Kelsey Merreck Wagner
Curatorial Essay by Suphavinee Srisopon

The artistic practice of Kelsey Merreck Wagner aims principally on addressing the issue of plastic pollution, consumption, capitalism, and human impact on environment. Plastic pollution has reached a staggering level, with over 380 million tons produced annually and approximately 500 billion plastic bags used worldwide each year. Astonishingly, more than one million bags are consumed every minute, each with an average “working life” of just 15 minutes. This exponential increase in plastic production over the last decade has far exceeded that of the entire previous century.

Wagner’s art is shaped by the implementation of recomposing used plastics. As plastics has become increasingly indispensable for humans, spanning from household products, sports gear, and medical equipment to the automotive and construction industries. Plastics are lauded for their durability, versatility in challenging conditions, and cost-effectiveness in manufacturing. In comparison to alternative materials such as glass or metal, plastics are more malleable and require less energy to produce, making them ideal for mass production, which began after the Second World War.

Since the advent of synthetic plastics in the late 1800s, they have supplanted natural materials that were scarcer and more costly to process. With abundant supplies of various plastics, manufacturers can keep pace with rapidly increasing consumption demand while also maintaining economical production costs. Moreover, the adaptability of plastics has allowed countless blueprints to materialize into reality. They have taken on different shapes and forms, finding their way into our daily lives. However, since their emergence, every fragment of plastic still persists on Earth, taking centuries, and thus generations, to decompose.

The textile work by Kelsey Merreck Wagner for the “Threads of Change” exhibition seeks to address the issue further. As an artist deeply engaged with the urgent discourse surrounding climate change, Wagner’s work delves into the visceral experience of environmental transformation through a prism of fiery hues – reds, oranges, and yellows. These colors, reminiscent of flames, are not merely aesthetic choices but symbolic representations of the escalating crisis we face.

In this collection, Wagner has employed heat maps as a central motif, a visual language that articulates the notable heat radiating from our warming planet. These maps serve as both a tool for comprehension and a call to action, urging viewers to confront the evident realities of climate change.

Furthermore, this exhibition confronts the tangible impacts of climate change, notably the perilous levels of PM 2.5 particles produced by fires and dust. By highlighting these dangers, Wagner seeks to foster dialogue on the urgent need for environmental supervision and sustainable practices.

Threads of Change exhibition (2024). Image courtesy of the artist.

Inspiration behind the Threads of Change Exhibition:

The inception of Wagner’s trash-weavings project for the “Threads of Change” exhibition stemmed from her transition to weaving while pursuing her Master of Arts at Appalachian State University. Previously a printmaker, she delved into weaving out of fascination for its tradition and process. Over three years, she had immersed herself in learning the fundamentals, experimenting with patterns, colors, and textures. As her skills evolved, she pondered how she could utilize weaving to convey environmental themes.

The weavings showcased in her textile work are crafted using a cotton warp, while the weft comprises plastic and assorted recycled materials collected by the artist, along with friends and family from the United States, Thailand, Laos, and Indonesia. These materials are sourced from various “corporate culprits,” such as Coca-Cola Company, Ulta, Walmart, Amazon, and others, encompassing a range of items like plastic shopping bags, flagging tape, rice bags, ethernet cables, quilting waste, clothing, Christmas decorations, and more, offering a diverse array of reused elements contributing to the artistic endeavor.

Threads of Change exhibition (2024). Image courtesy of the artist.

For this exhibition, Wagner presents five vibrant textiles symbolizing the environmental crisis fueled by overconsumption and waste mismanagement that leads to environmental ruin at human hands. Utilizing a Newcomb Studio Art Floor Loom passed down within the community since its 1965 construction, all five weavings detailed here were meticulously crafted at the Western Watauga Community Center’s weaving classroom in Boone, North Carolina, USA, spanning from September 2023 to February 2024. Each weaving demanded approximately 100 hours of labor, totaling over 500 hours collectively. The creative process involved several steps, beginning with the collection of recycled materials sourced through community engagement initiatives, online postings, and organized clean-up efforts, sparking discussions on societal themes like capitalism, consumption, and environmental preservation. Following the material acquisition, meticulous cleaning, sorting by color, and cutting into strips ensued, with each strip fashioned into “plarn” (plastic yarn) through hot glue connections. Planning the warp, warping the loom, and executing the weaving process itself, utilizing a plain weave technique, each demanded careful attention to detail and design.

Upon completion, removal from the loom and finishing touches, including adding a stabilizing hem, tying knots, and sewing pockets for hanging dowels, required an additional 2-3 hours per weaving, culminating in a labor-intensive yet deeply meaningful artistic endeavor intertwining community involvement and creative expression.

Ultimately, Wagner aims to ignite a collective consciousness through the “Threads of Change” exhibition, sparking conversations and galvanizing action towards a more sustainable future. “Threads of Change” abridges the main course of Wagner’s practice and research interests over her artistic career through the transformative power of trash-weaving textile art, she aspires to kindle hope and inspire change in the face of climate adversity.

 

เคลซี เมอร์แรค แวกเนอร์
บทความภาษาอังกฤษโดย ศุภาวิณี ศรีโสภณ
แปลโดย ทีทัช หงษ์คงคา

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ Kelsey Merreck Wagner มีความมุ่งหวังที่จะสร้างแรงกระเพื่อมที่มีต่อปัญหามลภาวะจากพลาสติก การบริโภคที่เกินความพอดี ระบบทุนนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำมือของมนุษย์ ตามข้อมูลทางสถิติมลภาวะจากพลาสติกมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยทั่วโลกมีการผลิตมากกว่า 380 ล้านตัน และมีใช้ถุงพลาสติกประมาณ 5 แสนล้านใบต่อปี มากไปกว่านั้นมีการบริโภคถุงพลาสติกมากกว่า 1 ล้านใบต่อนาที โดยอายุการใช้งานเฉลี่ยต่อใบเพียง 15 นาทีเท่านั้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตพลาสติกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มากเกินกว่าผลผลิตทั้งหมดในช่วงศตวรรษก่อนรวมกัน

การใช้งานพลาสติกกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ภายในครัวเรือน อุปกรณ์กีฬา เครื่องมือทางการแพทย์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์และการก่อสร้าง ด้วยคุณสมบัติของพลาสติกที่มีความทนทาน มีความยืดหยุ่นสูงสามารถใช้งานได้หลากหลายประเภท ขั้นตอนการผลิตใช้พลังงานน้อยกว่า และทำให้ใช้ทุนในการผลิตต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น ๆ อย่าง แก้ว หรือ โลหะ ทำให้สามารถผลิตในปริมาณที่มากขึ้นได้ ซึ่งเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของพลาสติกสังเคราะห์ในช่วงปลายทศวรรษ 1800 พลาสติกถูกนำมาใช้แทนวัสดุจากธรรมชาติที่หายากและมีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับการแปรรูป ซึ่งพลาสติกที่มีคุณสมบัติที่หลากหลาย ผู้ผลิตจึงสามารถผลิตพลาสติกที่ตอบสนองความต้องการในการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ราคาต้นทุนในการผลิตต่ำ นอกจากนี้ พลาสติกยังมีความสามารถในการขึ้นรูปจากพิมพ์เขียวต่าง ๆ ให้กลายเป็นจริง โดยมีรูปร่างและรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันตามที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนพลาสติกทุกชิ้นนับตั้งแต่เริ่มมีการสังเคราะห์พลาสติกก็ยังคงวนเวียนอยู่บนโลก โดยใช้เวลาหลายศตวรรษและหลายชั่วอายุคนในการย่อยสลาย

ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ เริ่มมีการตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของการแปลงสภาพของวัสดุ (Upcycling) และการนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เป็นรูปแบบหนึ่งที่นักกิจกรรมเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และผู้รักสิ่งแวดล้อมปฏิบัติ โดยแต่ละบุคคลสามารทำได้ด้วยการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำ ซึ่งสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคพลาสติกได้

ผลงานศิลปะการถักทอโดย Kelsey Merreck Wagner สำหรับนิทรรศการ “The Thread of Change” นำเสนอทางออกสำหรับปัญหานี้ ในฐานะศิลปินที่ทำงานในเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลงานของ Wagner เจาะลึกประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ผ่านโทนสีอันร้อนแรงของ สีแดง สีส้ม และสีเหลือง ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้ชวนให้นึกถึงสีสันความงามของเปลวไฟแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์แทนวิกฤตที่ทวีความรุนแรง โดยที่มนุษย์อย่างเราต้องเผชิญหน้า

ในผลงานชุดนี้ Wagner ใช้แผนที่ความร้อนเป็นลวดลายหลักบนผลงาน โดยสื่อสารภาษาผ่านทางภาพที่แสดงให้เห็นถึงความร้อนที่แผ่ขยายออกมาจากโลกที่กำลังร้อนขึ้นของเรา ผลงานจึงทำหน้าที่เป็นการสื่อความเข้าใจและกระตุ้นเตือนผู้ชมถึงการเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มากไปกว่านั้น นิทรรศการนี้ยังพูดถึงผลกระทบที่เป็นรูปธรรมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาหมอก PM 2.5 ที่อยู่ในระดับอันตราย โดยมีสาเหตุมาจากฝุ่นละออง และการเผาไหม้ ผลงานของ Wagner จึงมุ่งเน้นให้เห็นถึงอันตรายเหล่านี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาอันแสนเร่งด่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

ในท้ายที่สุด Wagner มุ่งหวังให้เกิดการจุดประกายและการมีจิตสำนึกร่วมกันผ่านบทสนทนาสู่การลงมือปฏิบัติเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงผ่านผลงานศิลปะ เธอปรารถนาที่จะจุดประกายความหวังและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเสื่อมโทรมของสภาพภูมิอากาศ

Threads of Change exhibition (2024). Image courtesy of the artist.

แรงบันดาลใจเบื้องหลังนิทรรศการ Threads of Change:

จุดเริ่มต้นของผลงานศิลปะถักทอขยะของ Wagner ซึ่งจัดแสดงในนิทรรศการ Threads of Change นั้น ก่อนหน้านี้ Wagner เป็นศิลปินภาพพิมพ์ และเปลี่ยนผ่านมาสู่การทอผ้าในขณะที่กำลังศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตที่ Appalachian State University ซึ่งเธอได้ศึกษาการทอผ้าในเชิงลึกและหลงใหลในขนบธรรมเนียมและกรรมวิธีในการทอผ้า ตลอดระยะเวลา 3 ปี เธอเรียนรู้อยู่กับการทอผ้าพื้นฐาน ตลอดจนการทดลองลวดลาย สี และพื้นผิว ทำให้ทักษะของเธอได้ถูกพัฒนาขึ้น Wagner ได้ไตร่ตรองถึงวิธีการทอผ้าในการนำมาใช้ เพื่อสื่อสารถึงประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

ผลงานศิลปะถักทอของ Wagner สร้างขึ้นโดยใช้เส้นยืนจากเส้นใยฝ้าย ในขณะที่เส้นพุ่งประกอบด้วยพลาสติกและวัสดุรีไซเคิลหลากหลายชนิดที่ศิลปินรวบรวมทั้งจากเพื่อนและครอบครัวที่สหรัฐอเมริกา ไทย ลาว และอินโดนีเซีย วัสดุเหล่านี้มาจากองค์กรหลายแห่ง เช่น Coca-Cola Company, Ulta, Walmart, Amazon และบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย ครอบคลุมรายการต่างๆ เช่น ถุงพลาสติกช้อปปิ้ง เทปกระดาษ ถุงข้าว สายเคเบิลอีเธอร์เน็ต เศษผ้าเหลือใช้จากการเย็บผ้า เสื้อผ้า ของตกแต่งคริสต์มาส และอื่นๆ อีกมากมาย ศิลปินได้นำวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่สร้างเป็นองค์ประกอบที่หลากหลายในผลงานศิลปะของเธอ

Threads of Change exhibition (2024). Image courtesy of the artist.

ผลงานผ้าทอทั้ง 5 ชิ้น มีรายละเอียดที่ประณีตและพิถีพิถัน โดยทอที่ห้องเรียนทอผ้าของ Western Watauga Community Center ในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 ถึงกุมภาพันธ์ 2024 โดยใช้กี่ของ Newcomb Studio Art ซึ่งได้รับการส่งต่อกันมาภายในชุมชนตั้งแต่ปี 1965 งานทอแต่ละชิ้นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 100 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งหมดกว่า 500 ชั่วโมง ในกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งมีหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล ซึ่งมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน การโพสต์ออนไลน์ และการจัดกิจกรรมทำความสะอาด ซึ่งจุดประกายให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม เช่น ลัทธิทุนนิยม การบริโภค และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจากได้วัสดุมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาดวัสดุ จัดเรียงตามสี และตัดเป็นเส้น จากนั้นจึงนำแต่ละเส้นมาต่อกันเป็น “เส้นด้ายพลาสติก” โดยใช้กาวร้อนในการเชื่อมต่อ แล้วนำไปทำเส้นยืนโดยขึงบนกี่ การทอผ้าใช้เทคนิคการทอมือแบบธรรมดาทั่วไป ซึ่งต้องใช้ความใส่ใจในรายละเอียดและการออกแบบอย่างมาก

เมื่อเสร็จแล้ว นำออกจากกี่ เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย รวมถึงการทำให้ริมผ้าแข็งแรง ด้วยการผูกปม และเย็บกระเป๋าสำหรับเดือยแขวน ต้องใช้เวลาทอเพิ่มเติม 2-3 ชั่วโมงต่อผลงานแต่ละชิ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทำให้ผลงานแต่ละชิ้นมีคุณค่าและความหมายด้วยการผสานส่วนร่วมของชุมชนและการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน

 

 

Artwork

Artists