Curatorial essay by Danielle Khleang
.
Anida Yoeu Ali (b. 1974, Cambodian American) is an interdisciplinary artist and global agitator who works across performance, new media, and installation to challenge reigning narratives about the boundaries of identity. Ali interrogates overly simplified representations of who a person is and can be through larger-than-life personas. The Red Chador: Becoming Rogue is the latest iteration of one of these characters. Born a decade ago in Paris during heightened Islamophobia, this emblematic figure dons a chador, a garment that covers the head and body worn by some Muslim women.
The body has been a contested site in political struggles, claimed by religious, governmental, rebel, and activist groups to mold their visions of society[1]. The Red Chador series engages this terrain in stark opposition to any sense of conformity that casts Muslim women as submissive. In this exhibition, Ali debuts all new work including two lines of 14 chadors, two neon works, six images, and The Red Chador: Stranded, a film made in collaboration with Masahiro Sugano.
A Muslim woman of mixed Malay, Cham, Khmer, and Thai ancestries, Ali’s fabric-focused art honors her ancestors’ migration across Southeast Asia. Born in Battambang, Cambodia, on the precipice of the Khmer Rouge regime’s rise to power and years of Cold War armed conflict, Ali became a refugee in 1979 and resettled with her family in the United States as a child. Resettlement dislodged Ali from the center of her mixed heritage and rooted her in a fragmentary diaspora. Without the constant reinforcement of cultural plurality of the homeland, Ali’s family instilled in her Khmer-Malay-Thai-Muslim heritage. Significantly, this included the gift of a telekung as a teenager. Like a chador, the telekung is the Malay word for a full-body prayer garment worn Muslim women.
Conflicting stereotypes dominate narratives about Muslim women’s choice to wear body coverings[2]. Women who wear the chador are accused of being oppressed victims of a patriarchal backward religion. Elsewhere, the chador is entangled with women’s bodies and behaviors as the location of national, religious, and cultural identity that must be fiercely guarded and narrowly defined. Through The Red Chador series, Ali resists these instrumentalizations of Muslim women. In her latest appearance, Becoming Rogue, she invites visitors to stand with Muslim women and join the resistance by immersing them in The Red Chador’s boudoir.
Becoming Rogue is The Red Chador’s luxury walk-in closet, and much to the dismay of those who would like to conceal her, her closet is red, bold and bright. On the walls hang six fashion editorial style photographs that capture the lavish dynamism of the chador in motion. Near them, neon artworks glimmer, “What is it you fear?” a reference to an earlier performance, and “Feminism + Fabulousness.” The centerpiece of the exhibition are two new lines of 14 chadors that are made from flowing fabrics of shimmering varieties. While one collection features iridescent, celebratory, and floral patterns sourced from the open-air markets of Phnom Penh and Bangkok, the other is premium minimalist, something The Red Chador might wear incognito to a café and was made from a donation of fabric from The Jim Thompson Art Center.
While galleries are often places where artworks become artifacts behind a glass case, Ali and the Warin Lab lower the barriers between visitors and the art on display. Guests are encouraged not just to look but perform The Red Chador by wearing and photographing themselves in any of the marvelous chadors using the bespoke selfie stage. In doing so, guests approach the experience of the Muslim woman as a mark of solidarity. A selection of these photos will gradually appear in the exhibition, culminating in 99 images, an auspicious Islamic number that refers to the 99 names of Allah (God).
Additionally, Becoming Rogue presents The Red Chador: Stranded, a video work that documents The Red Chador and her Rainbow Brigade as they move through Gurambilbarra, commonly known by the settler colonialist name Townsville, Australia. Emerging from a forest, the veiled figures are conjured during a smoking ceremony performed by elders of the aboriginal Bindal people, Alfred Smallwood and R. John Phillips. As the figures make their way, there is a mutual encounter between them and the townspeople that echoes both whimsy and apprehension. A recurring frame shows a red chador drifting in clear water. While the exhibition pulls the visitor into The Red Chador’s closet, the film visualizes a world beyond her interior: one layered with the beliefs and values of people but also grounded in the literal terrestrial material from which all humans draw life. Ali’s provocation through The Red Chador: Becoming Rogue invites visitors to try the chador on for size. Step into the role of an agitator and view the world through The Red Chador’s veil, experiencing a moment of solidarity with Muslim women.
[1] This notion of body politics is indebted to the work of Michel Foucault, an introduction to which can be found in ‘The Political Investment in the Body,’ in Fraser, M. and Greco, M. (eds.) The Body: A Reader. London: Routledge, pp. 100–104.
[2] For further discussion on Islamophobia and representation, see Terman, R. (2017) ‘Islamophobia and media portrayals of Muslim women: A computational text analysis of US news coverage’, International Studies Quarterly, 61(3), pp. 489–502.
บทความนิทรรศการโดย ดาเนียล เคลียง
.
อนิดา ยู อาลี (เกิดปี พ.ศ. 2517 ที่กัมพูชา เติบโตที่สหรัฐอเมริกา) เป็นศิลปินสหวิทยาการ ทำงานด้านการแสดงสด สื่อดิจิตอล และงานศิลปะจัดวาง เธอปลุกสังคมด้วยการท้าทายว่า อัตลักษณ์ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบที่สังคมขีดไว้ ศิลปินตั้งคำถามต่อการด้อยค่าความเป็นปัจเจกบุคคลผ่านผลงานการสร้างบุคลิกที่น่าตรึงตาเป็นที่จดจำผ่านการแสดงสด นิทรรศการ “The Red Chador: Becoming Rogue” ครั้งนี้เป็นร่างล่าสุดของบุคลิกที่เธอสร้างขึ้น คอนเซ็ปท์นี้ถือกำเนิดในปารีสช่วงประมาณ 10 ปีที่แล้วที่กระแสเกลียดกลัวอิสลามปะทุความรุนแรง ร่างเชิงสัญญลักษณ์นี้สวมชาดอว์ (Chador) ซึ่งเป็นชุดคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าที่สวมใส่โดยหญิงมุสลิม
ร่างกายมนุษย์คือสมรภูมิแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ถูกอ้างสิทธิโดยศาสนา รัฐบาล กลุ่มขบถ และกลุ่มนักเคลื่อนไหว เพื่อปั้นแต่งภาพอุดมคติของสังคมในแบบที่ตนต้องการ[1] The Red Chador เข้าสู่สนามแห่งนี้ เพื่อโต้กลับทุกภาพจำที่ตีกรอบอัตลักษณ์หญิงมุสลิมที่เป็นเพียงกุลสตรีผู้อ่อนน้อม ในนิทรรศการครั้งนี้ อนิดา เปิดตัวผลงานใหม่ทั้งหมด ประกอบไปด้วย ชุดชาดอร์ 2 คอลเล็คชั่น จำนวน 14 ชุดต่อคอลเล็คชั่น งานไฟนีออน 2 ชิ้น ภาพถ่าย 6 ชิ้น และวิดีโอ The Red Chador: Stranded ที่ร่วมสร้างสรรค์กับ มาซาฮิโระ ซูกาโนะ
อนิดาเป็นศิลปินหญิงมุสลิมเชื้อสายผสมมาเลย์ จาม เขมร และไทย เธอสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากผ้าเพื่อหวนระลึกถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ของบรรพบุรุษของเธอ อนิดาเกิดที่จังหวัดบัตตัมบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการขึ้นสู่อำนาจของเขมรแดงและท่ามกลางสงครามเย็นที่ยังคุกรุ่น ในปีพ.ศ. 2522 อนิดาและครอบครัวกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยสงครามไปตั้งรกรากใหม่ที่สหรัฐอเมริกา การย้ายถิ่นตั้งแต่เยาว์วัยพรากเธอออกจากความหลากหลายที่ผสมผสานอยู่ในรากเหง้าของเธอ และทำให้เธออยู่ในสภาวะความเปราะบางของการพลัดถิ่น การอยู่ต่างถิ่นส่งผลให้เธอขาดการหล่อเลี้ยงทางวัฒนธรรมอันหลากหลายจากบ้านเกิด ครอบครัวของอนิดาจึงยึดกับวัฒนธรรมเขมร-มลายู-ไทย-มุสลิม เป็นอัตลักษณ์ของตน สิ่งที่น่าสนใจคือเธอได้รับของขวัญสำคัญเมื่อเป็นวัยรุ่นก็คือ ตะละกุง—ซึ่งเป็นชุดละหมาดของหญิงมาเลย์แบบเต็มตัวคล้ายคลึงกับชาดอร์
ภาพจำที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเลือกคลุมกายของหญิงมุสลิมมักเป็นศูนย์กลางการถกเถียงในสังคม[2] ฝ่ายหนึ่งมองว่าผู้หญิงที่สวมชาดอร์เป็นเหยื่อของการกดขี่ของแนวคิดชายเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งกลับถือว่าชาดอร์มีประเด็นทั้งด้านร่างกายและพฤติกรรมผู้หญิง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงชาติ ศาสนา และอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรม ที่ต้องพิทักษ์ไว้อย่างเข้มงวด อนิดาต่อต้านการใช้ร่างกายของหญิงมุสลิมเป็นเครื่องมือของอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านคอนเซ็ปท์ The Red Chador ในนิทรรศการ Becoming Rogue ครั้งนี้ เธอเชื้อเชิญผู้ชมให้มายืนเคียงข้างหญิงมุสลิมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้าน ผ่านการแหวกม่านเข้าไปสัมผัสโลกส่วนตัวของ The Red Chador
นิทรรศการ Becoming Rogue คือเปลี่ยนแกลเลอรี่เป็นห้องเสื้อหรูหราของ The Red Chador ที่มีสีแดงร้อนแรงโดดเด่นอย่างไม่แยแสต่อผู้ที่ต้องการลดทอนตัวตนของเธอ บนผนังจัดแสดงภาพถ่ายแฟชั่น 6 ภาพที่จับความเคลื่อนไหวอันรุ่มรวยของผืนผ้าชาดอร์ และงานไฟนีออนที่ส่องสว่างไสว 2 ชิ้น ชิ้นแรกถามทุกคนว่า “คุณกลัวอะไร?” คำถามนี้อ้างอิงถึงการแสดงสดก่อนหน้า และส่วนอีกชิ้นเน้นย้ำ “แนวคิดสตรีนิยม และความเริ่ด” (Feminism + Fabulousness) ที่เป็นแก่นความหลักของนิทรรศการ ผลงานที่เป็นหัวใจของนิทรรศการคือ ชุดชาดอว์ 2 คอลเล็คชั่น คอลเล็คชั่นละ 14 ชุด รวมทั้งสิ้น 28 ชุด ที่ตัดเย็บจากผ้าพริ้วพรายแสงหลากหลายประเภท คอลเล็คชั่นแรก เน้นลุคของผ้าลายดอกไม้เหลือบสีเล่นแสง ที่ตัดเย็บจากผ้าที่ได้มาจากตลาดนัดในพนมเปญและกรุงเทพฯ ส่วนอีกคอลเล็คชั่น เป็นลุคสุดหรูแนวมินิมอลที่นักแสดงสดผู้สวมบทบาท The Red Chador อาจใส่ชุดนี้แบบปิดหน้าไปปรากฎตัวในคาเฟ่ ผ้าจากคอลเล็คชั่นนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Jim Thompson Art Center
ต่างจากงานนิทรรศการอื่นๆ ที่ศิลปะมักถูกจัดแสดงเป็นสิ่งของเลอค่าที่ห้ามสัมผัส ในนิทรรศการนี้ อนิดาร่วมกับวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ปลดแนวขีดกั้นระว่างผู้ชมกับงานศิลปะลง อนิดาเชิญชวนผู้ชมให้เข้ามาสวมบทบาท The Red Chador ด้วยการเลือกสวมชุดชาดอร์ที่แสนเริ่ด และถ่ายรูปในฉากเซลฟี่ในห้องนิทรรศการ รูปถ่ายจำนวน 99 รูป ที่เริ่ดที่สุดจะถูกเลือกให้ปรากฏบนผนังนิทรรศการ ตัวเลขนี้เป็นเลขมงคลสื่อถึง 99 พระนามของอัลลอฮ์
นอกจากนี้ Becoming Rogue ยังนำเสนอ The Red Chador: Stranded ซึ่งเป็นวิดีโอบันทึกภาพการเดินทางของ The Red Chador และ Rainbow Brigade ในเมืองกูรัมบิลบาร์รา หรือที่รู้จักกันในชื่อทาวน์สวิลล์ ประเทศออสเตรเลีย พวกเธอปรากฏตัวจากผืนป่า ผ่านควันพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบโดยผู้อาวุโสชาวอะบอริจิน เผ่าบินดัล ที่มีชื่อว่า อัลเฟรด สมอลวูด และ อาร์. จอห์น ฟิลลิปส์ ขณะที่ร่างในชุดชาดอร์สีแดงเคลื่อนผ่านเมือง พวกเธอเผชิญกับปฏิกิริยาของผู้คนที่ผสมระหว่างความสนุกสนานและความฉงนสงสัย หนึ่งในภาพที่ปรากฏซ้ำคือ ชาดอร์สีแดงลอยตัวในสายน้ำใส ในขณะที่นิทรรศการดึงผู้ชมเข้าสู่ห้องเสื้อของ The Red Chador ภาพยนตร์แสดงให้ผู้ชมเห็นโลกที่อยู่นอกตัวเธอ: โลกที่เต็มไปด้วยความเชื่อและค่านิยมของผู้คน แต่ก็ยังยึดโยงอยู่กับโลกวัตถุอันเป็นฐานที่มนุษย์ก่อร่างดำเนินชีวิต อนิดาใช้นิทรรศการ The Red Chador: Becoming Rogue เป็นคำเชิญให้ผู้ชมลองสวมชาดอร์ ก้าวเข้าสู่บทบาทของ “ผู้ปลุกกระแส” และร่วมมองโลกผ่านผ้าคลุมหน้าของ The Red Chador เพื่อประสานร่วมประสบการณ์เป็นหนึ่งกับผู้หญิงชาวมุสลิม
[1] แนวคิดเรื่องการเมืองเรือนร่างนี้ได้รับอิทธิพลจากงานของมิเชล ฟูโกต์ สามารถอ่านได้ในบทความ ‘The Political Investment in the Body’ วรสารทางวิชาการ The Body: A Reader ซึ่งมีมาเรียม ฟราเซอร์และโมนิกา เกรโก เป็นบรรณาธิการ หน้า 100 – 104
[2] สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia) และภาพจำของผู้หญิงมุสลิมในสื่อกระแสหลัก ได้ในบทความ ‘Islamophobia and media portrayals of Muslim women: A computational text analysis of US news coverage’ โดย Rochelle Terman หน้า 489–502