Overview

Jamilah Haji
Curatorial essay by Anuwat Apimukmongkon
Translated by Thanchanok Benjajinda

 

In Islam, the world is divided into two realms: Dunya, the temporary abode of this life, and Akhirah, the eternal life after death. Our existence in Dunya is a passage, a transient stage created by God to provide opportunities and tests for humans to perform deeds; good or bad, according to the strength of their faith. This awareness of life’s impermanence lasts until the end of the world, followed by the final judgment in the Hereafter. Therefore, for Muslims, poverty, wealth, and material possessions are mere temptations of this world.

“Underprivileged” is the term often used to describe the disadvantages that correlate with social class and status.  As defined by societal standards, deprivation of monetary and valuable material possessions relegates individuals to a disadvantaged position due to their limited access to necessities like food, housing, medicine, and clothing. However, from an Islamic point of view, such scarcity is a test in Dunya.  Individuals are provided with the chance to demonstrate their intention, courage, endurance and inner strength on their journey towards the Akhirah.

The three Southern border provinces of Thailand, home to the majority of Thai-Muslim population, are reported to be the poorest region in the country despite receiving the largest budget for special administration from the Government.  Much of this poverty stems from the loss of family members from political turmoil resulting in many impoverished situations especially for children. Reflecting the social circumstances and prolonged trials in Dunya, this area is often considered disadvantaged or a “third world” region by a capitalist society’s definition. The influx of thrown-away clothes and obsolete products, while seemingly providing basic necessities, might actually serve as an excuse to offload waste from the over-consumption society, causing overwhelming trash for the local area.

Jamilah Haji seeks to intertwine these issues with belief and faith through her art, using ephemeral materials such as second-hand clothing from developed countries. She cuts up, sews and fabricates these materials into artworks, involving the local children in the process. Together, they envision the homes they dream of living in and the lives they wish to lead in Dunya. This creative and therapeutic process cultivates the appreciation of the value of being human.  The reuse of scrap materials is a symbolic gesture that embodies the environmental responsibility—a duty of caring, sharing, and healing for the continuation of human life on Earth.

The artwork made of upcycled fabric by Haji symbolizes the apparel of Dunya—a temporary material that acts as a canvas for the expression of children’s dreams with the aspiration to heal the world because it is the home they are living in. The current situation is viewed as a test before humans enter the Hereafter, prompting a reflection on our role in the universe. Regardless of how thick our apparel is, it cannot hide the fact that all of us take part in harming the environment. Yet, we have the power to change ourselves and, consequently, make the world a better place.

 

ยามีล๊ะ หะยี
บทความนิทรรศการโดย อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล

ในทรรศนะของศาสนาอิสลามแบ่งโลกออกเป็นสองแบบ คือ โลกดุนยา (Dunya) ชีวิตของการอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว และ โลกอาคิเราะฮฺ (Akhirah) ดินแดนนิรันดร์ของชีวิตหลังความตาย การดำเนินชีวิตอยู่บนโลกปัจจุบันของมนุษย์นี้ เป็นแค่เพียงทางผ่าน ที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้นเพื่อให้โอกาสและบททดสอบแด่มนุษย์ได้ประกอบกรรมดีหรือชั่ว ตามแรงกำลัง ความศรัทธา ความตระหนักรู้ต่อคุณค่าในสรรพสิ่ง จนกว่าจะถึงวันที่โลกชั่วคราวนี้ดับสลาย และการพิพากษาสุดท้ายในโลกอาคิเราะฮฺ เพราะฉะนั้น ความจน ความรวย ความลุ่มหลงในวัตถุนิยมใดๆ สำหรับชาวมุสลิมจึงเป็นเพียงสิ่งล่อลวงในโลกดุนยานี้

เมื่อกล่าวถึงผู้ด้อยโอกาส ความด้อยนี้มักจะถูกผูกโยงกับชนชั้นและฐานะทางสังคม การไม่มีเงิน ไม่มีวัตถุครอบครอง ไม่มีชีวิตสุขสบายอย่างที่สังคมมนุษยนิยมคิดว่าควรจะเป็น กลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพราะพวกเขาเหล่านั้นเข้าไม่ถึงปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหาร บ้าน ยา และเสื้อผ้าสำหรับนุ่งห่ม แต่หากมองย้อนกลับไปในแนวคิดของโลกในอิสลามแล้ว การขาด ก็เป็นบททดสอบหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ในโลกชั่วคราวนี้ หากกล่าวให้ถูกต้อง พวกเขาเหล่านั้นจึงควรเป็น ผู้ได้โอกาสในการแสดงเจตจำนง ความกล้าหาญ ความอดทน การฟันฝ่าอุปสรรค และหัวใจทองคำ เพื่อเดินทางไปสู่ดินแดนอันเป็นนิรันดร์

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ได้รับผลการสำรวจว่าเป็นพื้นที่ที่มีคนจนมากที่สุดในประเทศไทย ในขณะที่งบประมาณของการบริหารจัดการพิเศษมีมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ความจนนี้ ที่ซึ่งไม่น้อยเกิดจากการสูญเสียคนในครอบครัว จึงกลายเป็นเหตุผลในการมีอยู่ของผู้ด้อยโอกาสจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน อันเป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นสภาวการณ์ของสังคม และระยะเวลาของการเผชิญบททดสอบในโลกดุนยา ที่อาจมีมากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ พื้นที่แห่งนี้ จึงกลายเป็นพื้นที่ด้อยโอกาส เป็นพื้นที่ประเทศโลกที่สามในนิยามของสังคมทุนนิยม การเข้ามาของสินค้า เสื้อผ้ามือสอง หรือสินค้าตกรุ่นจำนวนมาก ที่ดูคล้ายเป็นการแบ่งปันโอกาสของ 1 ในปัจจัย 4 ให้ผู้ด้อยโอกาสมีเสื้อผ้าใช้ ทว่าอาจกลายเป็นข้ออ้างในการระบายออกของขยะจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสังคมบริโภคนิยม ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของประเทศ ส่งผลต่อปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยไม่รู้ตัว

ยามีล๊ะ หะยี จึงพยายามผูกโยงมิติของปัญหา ความเชื่อ และความศรัทธานี้เข้าด้วยกัน ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่หยิบใช้วัสดุชั่วคราวอย่างเสื้อผ้ามือสองและร่วมสมัย ที่ถูกส่งต่อมาจากประเทศผู้เจริญ มาตัดเย็บและสร้างใหม่เป็นผลงานศิลปะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ มาร่วมวาดฝันถึงบ้านหรือโลกที่อยากจะอยู่ และชีวิตที่อยากจะเป็นในโลกดุนยานี้ เพื่อส่งต่อถึงการตระหนักในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ต่อพวกเขา การสร้างสิ่งใหม่จากวัสดุที่ใช้แล้วเพื่อสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเป็นหน้าที่หนึ่งในการดูแล แบ่งปัน และเยียวยารักษาโลกดุนยาสำหรับการมีชีวิตอยู่ต่อของเพื่อนร่วมโลก 

ชิ้นส่วนเสื้อผ้าที่กลายเป็นงานศิลปะของยามีล๊ะในฐานะมุสลิม จึงเปรียบเสมือนอาภรณ์แห่งโลกดุนยา วัตถุชั่วคราวที่สามารถกลายเป็นพื้นที่รองรับความฝันของเด็กและเยาวชน ที่อยากเยียวยารักษาโลกในฐานะบ้านหลังหนึ่งที่พวกเขาอยู่ เป็นบททดสอบก่อนเข้าสู่อาคิเราะฮฺ และทำให้เราในฐานะมนุษย์ย้อนกลับมาประมาณตนเองว่าเราเป็นแค่เศษเสี้ยวเล็กๆของจักรวาล อาภรณ์ที่ไม่ว่าจะหนาสักเพียงใด ก็ไม่อาจปกปิดความจริงที่ว่า เราเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตซ้ำความเลวร้ายให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติและโลกใบนี้ แต่เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาโลกให้ได้ดีกว่านี้เช่นกัน…

 

Artists

CREW