August 10 - October 28, 2023

Overview

Artist: Jarupatcha Achavasmit X Sakarin Krue-On
Curatorial essay: Thanchanok Benjajinda

“Second Life” is a collaboration project where Jarupatcha Achavasmit took the artwork of Sakarin Krue-On onto her loom and weaved into it a new life. After Sakarin’s photographic installation entitled “Chronicle of the Landscape” at Warin Lab Contemporary had come to an end, the gallery was safekeeping the exhibit materials for a year. As time grew older, one question grew louder: what will become of an artwork when it has already delivered what was primarily expected of it?  In this case, Jarupatcha came in at the right time as one of many possible answers: she deconstructed the artwork and reconstructed it anew.

In 2022, the exhibition “Chronicle of the Landscape” by Sakarin Krue-On was on display. Encapsulated within 3 landscape installations are man-made terrains in Ratchaburi province which were irreversibly transformed. All taken at eye level, these high-resolution photographs were meticulously printed to ensure that their realism is faithfully depicted through the most optimal perspective, as if one is standing at the location in the flesh. It was important for them to be monumental in size because it was intended to engulf the viewer, sweeping them off their feet and blurring their perception between reality and make believe.

At Warin Lab Contemporary, the gallery believes in sustainability and environmentalism, and is always on the lookout for inventive curatorial projects that would help evoke such mindsets in the general public. “Chronicle of the Landscape” is a prime example. It is significant for Warin Lab Contemporary to not only stimulate awareness but also to instigate action. However, for the gallery to bridge the gap between prevailing issues and audiences through art, it would practically require customized mediums which are not always salvageable or even attainable after the delivery. The exhibition also began and was then completed after it had delivered its message, leaving behind the retired artwork. Normally, due to several restrictions, many of the spent exhibition materials are to be discarded. But, with the uniquely adaptable and generous nature of these articles, as well as Sakarin himself, Warin Lab Contemporary was able to open many new doors which led to a collaborative exhibition where novel artworks ensue a “Second Life” begins.

With textile art as her forte, Jarupatcha Achavasmit excels at integrating shards into shapes. With every strand that would constitute a whole weave, her approach tends to focus on small-scale details, and then proceed to arrange their placement into a big picture. For Jarupatcha, every whole comprises a multitude of fragments, and the seamless printed canvases from “Chronicle of the Landscape” are no exception. With her eyes, she witnesses their delineation and materiality; with her hands, she adopts them by interlacing and reinvigorating them with her creativity. “To weave is to bond”, Jarupatcha remarks. Every intersecting stripe and strand are exposed to one another, and eventually married into a complete tapestry of recital. Realizing that her materials were “alive” before, it is important for her to honor both Sakarin’s effort as well as her own. 

Though it is not conventional for Jarupatcha to use another’s artworks as raw materials, her technique remains a great tool to represent her art practice. Looking at all the materials at hand, in her mind she would deconstruct them down to individual bits, and study their image and impression. She would then reconstruct them together, morphing these blank and multidimensional jigsaw pieces into an artistic construction. This practice also applied to all 3 pieces by Sakarin which she feels strongly about. She cut the gigantic sheets of canvas into long stripes and incorporated them with more materials through various textile-making techniques. Apart from its physicality, Jarupatcha was reviewing its message behind the frozen naturescape where she noticed the perennial quality of nature. Building on the foundation of Sakarin’s composition, she fabricates extensional artworks where the visuals of their previous life are certainly recognizable, however, they are no longer hibernating but instead thriving in the fruition stage of their second life.

As an alternative to appreciating the art installation of “Second Life” as a co-created project, one can also regard it as an enterprise that had undergone a rite of passage. Jarupatcha continued Sakarin’s legacy by interacting and reinterpreting in both material and conceptual state. For her, nature is extremely resilient; regardless of life condition, it attempts to rebalance and flourish indefinitely. On the other hand, inanimate objects and materials cannot emulate such vigor. Humans are, therefore, needed in this equation towards sustainability. It is with this in mind that Jarupatcha took the first life to then transition into a second one. Imbued with the tenacity to live a life again, “Second Life” is a reanimation of its preceding cycle, a rightfully remarkable life of its own.

 

ศิลปิน จารุพัชร อาชวะสมิต X สาครินทร์ เครืออ่อน

บทความโดย ธัญชนก เบญจจินดา

“Second Life” เป็นนิทรรศการที่เกิดจากการร่วมมือระหว่าง 2 ศิลปิน โดยมีผลงานที่เคยจัดแสดงในนิทรรศการ “Chronicles of the Landscape” ของสาครินทร์ เครืออ่อน เป็นตัวแปรต้น และจารุพัชร อาชวะสมิต เป็นผู้ถักทอต่อชีวิตที่สองให้ชิ้นงานเดิม 

ผลงานในนิทรรศการ “Chronicle of the Landscape” ซึ่งจัดแสดงในปี พ.ศ. 2565 ของสาครินทร์ เป็นงานภาพถ่ายวัสดุผ้าใบขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ผนังหอศิลป์จำนวน 3 ชิ้น เป็นภาพภูมิทัศน์ธรรมชาติที่จังหวัดราชบุรีซึ่งถูกเปลี่ยนแปลงด้วยการคุกคามของมนุษย์ มีเจตนาจะโอบล้อมและดึงผู้ชมเสมือนการประจันหน้ากับสถานที่จริง  ทำให้ความสามารถในการรับรู้เลือนราง ยากที่จะแยกแยะว่าสิ่งใดจริง และสิ่งใดเสมือนจริง เมื่อลอกชิ้นงานออกจากผนัง ผลงานดังกล่าวไม่สามารถนำไปจัดแสดงได้ใหม่ ซึ่งวารินแล็บ คอนเท็มโพรารีได้เก็บรักษาไว้ร่วมปี เมื่อเวลาผ่านไป คำถามหนึ่งที่ดังก้องจนไม่อาจละเลยได้คือ เมื่อผลงานศิลปะได้ทำหน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้จนเสร็จสิ้นแล้ว  ผลงานหรือวัสดุนั้นจะกลายเป็นอะไร? 

วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี มีปณิธานที่จะสื่อสารประเด็นความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ผ่านงานนิทรรศการศิลปะที่สร้างสรรค์และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติจริง ในหลายๆ นิทรรศการ งานศิลปะถูกสร้างขึ้นด้วยความซับซ้อนเพื่อสื่อความเฉพาะเรื่อง  และบางครั้งเมื่อนิทรรศการจบลง ผลงานก็ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ ด้วยความใจกว้างของสาครินทร์และชิ้นงานที่เอื้อแก่การสร้างสรรค์  วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี จึงริเริ่มโครงการปลุกชีวิตให้แก่งานศิลปะชิ้นเดิม โดยมีจิ๊กซอว์สำคัญคือจารุพัชร อาชวะสมิต ผู้มีสายตาและความสามารถในการรื้อ และรังสรรค์วัสดุเดิมเป็นผลงานชิ้นใหม่ 

จารุพัชร เป็นผู้มีความถนัดด้านศิลปะสิ่งทอ มีความเชี่ยวชาญในการใช้วัสดุหลากหลายประเภทมาผสานกับเทคนิคการทอ จารุพัชรให้คุณค่ากับชื้นส่วนเล็ก ๆ ที่เป็นรากฐานของการประกอบรูปทรงที่สมบูรณ์แบบ  ผืนผ้าใบมหึมาของสาครินทร์ เป็นความท้าทายชิ้นใหม่ของเธอ สมการที่เธอต้องขบคิดคือ ความชัดเจนสมจริงของภาพเดิม และความเป็นตัวตนของเธอเอง  จารุพัชร ให้ชีวิตกับวัสดุนี้อีกครั้งด้วยฝีมือและจิตวิญญาณความสร้างสรรค์  เธอเชื่อว่า “การทอคือการผสานหลายองค์ประกอบให้เป็นเอกภาพ”

จารุพัชร เคยมีประสบการณ์ทำโครงการร่วมโดยผสมผสานงานของตนเองเข้ากับงานของศิลปินท่านอื่น เทคนิคการทอของเธอทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมและบ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เมื่อเริ่มสร้างชิ้นงาน  จารุพัชรจะแยกส่วน และสำรวจวัสดุทั้งหมดด้วยการพิเคราะห์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งลวดลายและความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องคงไว้เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ได้  จากนั้น จารุพัชรจะสลายงานชิ้นเดิมจนเกิดเป็นชิ้นส่วนมากมาย และประกอบขึ้นใหม่เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ไร้สีหลายมิติเข้าด้วยกัน  สำหรับผลงานชุดนี้ที่เธอรับวัสดุมาจากสาครินทร์ นอกจากจารุพัชรจะศึกษารูปทรงทางกายภาพแล้ว เธอยังทบทวนถึงแนวคิดเบื้องหลังภาพทิวทัศน์ที่สาครินทร์นำเสนอ  เธอสังเกตเห็นความความพยายามของธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอยู่แม้ว่าจะถูกคุกคามและถูกเปลี่ยนสภาพแวดล้อม  เธอจึงสานต่อแนวคิดนี้และเพิ่มเติมวัสดุจากฐานเดิมที่สาครินทร์สร้างขึ้น  ในผลงานชิ้นใหม่เราจะจับเค้าลางเดิมของชิ้นงานได้ แต่ว่าไม่อยู่ในสภาวะจำศีลบนผืนภาพเรียบๆ อีกต่อไป ทั้งหมดได้เคลื่อนเข้าสู่ช่วงวงจรผลิดอกออกผลของชีวิตที่สอง

นิทรรศการ “Second Life” เป็นความร่วมมือในการส่งทอดงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่หมดอายุขัย และเปลี่ยนผ่านด้วยการกระบวนการทางศิลปะเพื่อให้เกิดชีวิตใหม่  จารุพัชรสานต่อสิ่งที่เธอรับช่วงมาจากสาครินทร์ด้วยการตีความใหม่ ทั้งในมิติของวัสดุและเนื้อหาในงาน  สำหรับเธอแล้วธรรมชาติไม่เคยอยู่นิ่ง ธรรมชาติเต็มไปด้วยพลังชีวิต พร้อมจะฟื้นสภาพและเติบโตเสมอไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด ซึ่งวัตถุไร้ชีวิตไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงควรยื่นมือเข้ามาช่วยต่อวงจรชีวิต และใช้วัสดุทั้งหลายอย่างยั่งยืน จารุพัชรพยายามในส่วนของเธออย่างเต็มที่เพื่อจะสร้างจุดเชื่อมที่นำพาชีวิตแรกไปสู่ชีวิตที่สอง จารุพัชรสร้างผลงานชื้นใหม่โดยมีเค้าโครงของชิ้นงานเดิม และให้ชีวิตที่สองแก่ผลงานปลดระวางของสาครินทร์อย่างเต็มภาคภูมิ “Second Life” จึงเป็นการต่ออายุชีวิตเดิม ให้เกิดเป็นชีวิตที่สองที่งดงามและมีอัตลักษณ์ของตนเองโดยชอบธรรม

Artists