Overview

Artist: Ruangsak Anuwatwimon
Curator: Loredana Pazzini-Paracciani

Reincarnations is a multidisciplinary art project by Thai artist Ruangsak Anuwatwimon, which looks at ecologies of life that are in danger of extinction or are already extinct as a consequence of human actions, from exploiting natural resources to manipulating history and geography for political benefits, and not because of organic evolution. By including as wide a variety as possible of flora and fauna species, the aim of this ongoing project is for the artist to highlight the impact of their disappearance on not only natural ecosystems but also, crucially, mainstream national narratives.Anuwatwimon started developing Reincarnations in 2018 during his residency at the Center of Contemporary Art in Kitakyushu, Japan, where he researched on the death of significant exemplars such as the world’s last northern white rhino in Africa, the swallowtail butterfly species called the Bhutan glory in Thailand, and the Japanese wolf. Reincarnations II was subsequently developed as part of the Singapore Biennale 2019 where the artist focused on two species of trees in Singapore, the Hopea sangal and Sindora wallichii, that are critically endangered.

In its third iteration, Reincarnations III at Warin Lab Contemporary takes a close look at the extinction of selected animals at the intersection of human intervention. To do so, the exhibition features two- and three-dimensional works extending from the ongoing research on the Bhutan glory, which was native to the Chiang Dao mountains in northern Thailand and that disappeared in the 70s as a result of unethical collecting, and the Japanese wolf, last seen alive in the early 20th century. The butterfly and the wolf are accompanied by a newly commissioned piece inspired by a now-extinct deer species, the Schomburgk’s deer, which in the gallery becomes a staggering life-size installation.

This majestic animal, first described in the late 19th century, is native to central Thailand in the Chao Phraya plateau near Bangkok, today known as the Rangsit area where the artist conducted ground research. Last seen alive in the wild in 1932, the deer was declared extinct in 1938; however, the cause of its disappearance remains unclear. Significantly, the only embalmed exemplar resides not in Thailand, its home country, but in the National Museum of Natural History in Paris. Adding to its colonial trajectory, this local deer species was named after Sir Robert Schomburgk, who served as British consul in Bangkok from 1857 to 1864. Its unique basket-shape antlers have piqued the interest of many collectors with some theorizing to clone the animal in the attempt to overcome the laws of nature.

Interestingly, it was only in the mid-60s that the Schomburgk’s deer entered Western books, a period that intersects with the history of the location that Warin Lab Contemporary occupies and to which the artist responds with this site-specific work. The gallery premises are located, in fact, in the former house of Dr Boonsong Lekagul, a medical doctor and also the first researcher and ecologist of Thailand’s wildlife. In the 50s and 60s, Dr Boonsong not only researched on and advocated the preservation of endangered animal species in Thailand, but also produced and collected a number of books on wildlife, including the Schomburgk’s deer.

In Reincarnations III – Ecologies of Life, the environmentalist-zoologist-artist crosses multiple disciplines, on one hand highlighting the importance of caring for our planet and all the species that surround us while, on the other, emphasizing the role of art as a powerful tool for social activism both in relation to natural ecosystems and in response to hidden or forgotten national narratives.

ศิลปิน : เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล

ภัณฑารักษ์ : Loredana Pazzini-Paracciani

Reincarnations เป็นโครงการศิลปะสื่อผสมที่สร้างสรรค์โดย เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล โดยจับประเด็นสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่ใกล้จะสูญพันธุ์รวมถึงสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งไม่ได้เป็นการสูญพันธุ์โดยธรรมชาติแต่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ที่เอารัดเอาเปรียบธรรมชาติและบิดเบือนประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ทางความเจริญและเศรษฐกิจ โครงการต่อเนื่อง Reincarnations ได้รวบรวมและศึกษาพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ หลากหลายสายพันธุ์ โดยศิลปินต้องการแสดงให้เห็นว่าการสาบสูญของสายพันธุ์นั้นๆ มีผลกระทบไม่ใช่แค่ต่อระบบนิเวศ และยังต้องการบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้เป็นที่รับทราบในวงกว้างเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล เริ่มโครงการ Reincarnations เมื่อปี พ.ศ. 2561 ระหว่างที่ร่วมโครงการ ศิลปินพำนัก ณ Center of Contemporary Art ที่เมืองคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น โดยทำวิจัยเรื่องการสูญพันธุ์ของกลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างแรดขาวเหนือในแอฟริกา ผีเสื้อสมิงเชียงดาวในประเทศไทย และหมาป่าญี่ปุ่น จากนั้น ในปี พ.ศ. 2562 เรืองศักดิ์ได้พัฒนาโครงการ Reincarnations II เพื่อจัดแสดงในงาน Singapore Biennale 2019 โดยศิลปินนำเสนอเรื่องราวของต้นไม้สองสายพันธุ์ในประเทศสิงคโปร์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่าง ตะเคียนแก้ว (Hopea sangal) และ มะค่าแต้ (Sindora wallichii)

สำหรับ Reincarnations III ซึ่งจะจัดแสดงที่วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ศิลปินเจาะประเด็นการสูญพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งเกิดจากการเข้ามาแทรกแซงของมนุษย์ นิทรรศการนี้ประกอบไปด้วยผลงานสองมิติและสามมิติ ที่ขยายผลจากงานวิจัยของเรืองศักดิ์เกี่ยวกับผีเสื้อสมิงเชียงดาว ซึ่งพบได้เฉพาะบนดอยเชียงดาวทางภาคเหนือของประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ผีเสื้อสมิงเชียงดาวเป็นผีเสื้อพันธุ์หายากที่มีความสวยงามและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยคาดว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2513-2523 ด้วยสาเหตุจากการค้าและการสะสมเป็นสมบัติส่วนตัวอย่างไม่เป็นธรรม และเรื่องราวของหมาป่าญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกว่ายังมีชีวิตอยู่ครั้งสุดท้ายเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นอกจากผลงานจัดแสดงทั้งสองชิ้นแล้ว เรืองศักดิ์ ยังสร้างผลงานชิ้นใหม่ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าถึงการสูญพันธุ์ของ “เนื้อสมัน” หรือกวางเขาสุ่มโดยจัดแสดงประติมากรรมเสมือนจริง ขนาดเทียบเท่ากับเนื้อสมันเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่

เนื้อสมันถูกพูดถึงครั้งแรกเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เป็นสัตว์พันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แถวทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นบริเวณที่เรืองศักดิ์ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย มีบันทึกว่าเนื้อสมันยังมีชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2475 และถูกประกาศเป็นสัตว์สูญพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2481 ทั้งนี้ สาเหตุของการสูญพันธุ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ตัวอย่างเนื้อสมันสภาพสมบูรณ์ ไม่ได้จัดเก็บอยู่ในบ้านเกิดอย่างประเทศไทย แต่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ National Museum of Natural History ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หากย้อนไปถึงเหตุการณ์ช่วงล่าอาณานิคม เนื้อสมันหรือกวางเขาสุ่ม ถูกตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษตามชื่อของ Sir Robert Schomburgk กงสุลสหราชอาณาจักรประจำสยามช่วงปี พ.ศ. 2400 – 2407 ด้วยความสวยงามและเขากวางทรงตะกร้าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ เนื้อสมันจึงเป็นที่สนใจของนักสะสมและได้เกิดทฤษฎีการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งเป็นความพยายามที่มนุษย์ต้องการจะอยู่เหนือกฎของธรรมชาติ

ศิลปินสร้างผลงานศิลปะเฉพาะที่ (site specific) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของเนื้อสมัน เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งของวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี อย่างน่าสนใจ กล่าวคือห้องแสดงงานของ วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี่ เป็น โถงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักวิจัย และนักนิเวศวิทยา คนสำคัญของประเทศไทย โดยท่านได้ทำงานวิจัยและสนับสนุนการสงวนรักษาพันธุ์สัตว์ ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทยในช่วงตั้งแต่ปี 2493 ถึง ปี 2512 และยังได้เก็บรวมรวม ค้นคว้า และเขียนหนังสือจำนวนมากเกี่ยวกับสัตว์ป่า รวมไปถึงเรื่องราวของเนื้อสมันด้วย ทั้งนี้ พบว่าในปี พ.ศ. 2508 เป็นครั้งแรกที่เรื่องราวของเนื้อสมันปรากฏ อยู่ในหนังสือที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศ

ในนิทรรศการ Reincarnations III – Ecologies of Life นี้ เรืองศักดิ์ ผู้สวมหมวกด้านการอนุรักษ์ ด้านสัตววิทยา และด้านศิลปะ นอกจากจะต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเอื้ออาทร ต่อโลกและต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกับมนุษยชาติแล้ว ยังต้องการเน้นย้ำบทบาทของศิลปะในฐานะเครื่องมืออันทรงพลังในการขับเคลื่อนทางสังคม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ และการสื่อสารเรื่องราวที่อาจถูกปิดบังหรือหลงลืมในสังคม

Artists

Curator