Curatorial Essay by Thanchanok Benjajinda
As the rainy season gradually fades away, there comes a dusty season. During the winter months, atmospheric pollutants form noxious clouds that shroud the northern region of Thailand down to the capital city of Bangkok, reducing air quality and posing an extreme risk to health. Alarmed by the haze which is plain to see, the general population and media raise the PM 2.5 issue for discussion. In light of such concern, Pongpan Suriyapat, as a local artist, is also bringing something to the table through his new media art exhibition that enhances the profile of the problem of pollutants in the atmosphere.
Air is an abundant resource, however, clean air is scarce. Permeating through the air are microscopic specks of airborne particles and other pollutants. Air pollution may be undetectable to the naked eye at a short range, however, when viewed from a distance, they can form a visibly menacing cloud that obscures faraway buildings or mountains. In Thailand, PM 2.5 is constantly produced through various everyday activities, predominantly vehicle combustion, industrial emissions and the burning of fields. As a result, particle pollution prevails throughout the year and reaches a critical level during the cool season due to temperature inversion which traps pollutants near ground level. Moreover, cold air is denser and slower to move, especially with the lack of wind and rain during winter time.
On average, adults filter approximately 10,000 liters of air every day. When humans breathe to stay alive the population is exposed to air pollution which can curtail life expectancy. Ingestion of fine particles affects the respiratory system directly and over a period of time, leads to detrimental effects on the cardiovascular system. According to the Air Quality Index (AQI), a standard indicator based on the concentration of particulate matter and degree of health risk it poses, normally, Bangkok’s AQI stays within the “Moderate” zone and annually creeps up into the “Unhealthy” zone during winter. However, the AQI of provinces in the North can skyrocket to the “Very Unhealthy” level, ranking among the most polluted areas of the world, due to its unique geography where cities are located in low-lying basins surrounded by mountains, exacerbating the stagnation of the haze. The hazard from northern Thailand may seem very location-specific and/or even irrelevant to some residents residing in the rest of the country, but is that so? Or are we just ignoring this warning at our own peril?
New media art is Pongpan Suriyapat’s strong suit and through his specialty in its sub-category of generative art, this exhibition is materialized. Generative art is a unique form of artistic creation where the artist sets predetermined rules and allows the result to emerge independently. It usually involves utilization of cutting-edge technology to construct dynamic art presentations that defy the intrinsically static character of a conventional exhibition. This kind of artistic approach then allows for a more immersive and personal art experience for visitors as they can witness first-hand the moment of art creation and its distinctive and diverse outcomes. Despite being the one that designs the sequences and determines the instructions, Pongpan as the artist is not its ultimate controller. He keeps his intervention within certain parameters, leaving room for anticipation and ingenuity.
“Polluted Currents” is a new media art installation in which Pongpan sets out to condense the regional air pollution problem into a more examinable scale, suitable for visitor engagement. The artist slices off a fragment of reality and cleverly rearranges it so people can experience this reality closer to their comfort zone. Experiencing not only the atmospheric pollutant, but also learning from diverse perspectives of the issue, the exhibition helps to visualize the danger of air pollution and urges the public to make changes for the better. The exhibition, as a simulation, magnifies a real-world scene where the visitor as a stakeholder is obviously at stake. With every action, there is a consequence. Especially within this imaginary space where ramifications seem to manifest at an accelerated rate. When everybody is undeniably contributing to the ongoing complication, then it is a matter of which end of the spectrum are they leaning towards: the perpetrator or the victim?
On the first floor of the gallery, Pongpan sets up a playground where the excitement and interaction of visitors comes at a cost. On one wall Pongpan displays on screens the flow of pollutants from PM 10 down to PM 2.5 (with the thickness of a hair strand for comparison) according to real time data (from aqicn.org) from different locales. Visitors can now see clearly the rendition of impurities previously invisible to the naked eye and apprehend at their own pace the quality of air, and therefore the quality of life, that Thai people are breathing. On the opposite side, leveled LED platforms and heaps of inflammables objects are laid out for inspection. These LED stages represent geographical elevation and a stretch of land where every footprint of the audience will graphically disperse in a whiff of smog. If the number of steps pass a predetermined threshold, an ominous fume will be discharged and pervade the whole room.
When continuing to the second floor, photographs of visitors that were captured by cameras downstairs will confront them, subjecting them to one’s own scrutiny. On the top and bottom of TV screens, there are two words representing a dichotomy with a visitor’s portrait placed neutrally in the middle. In their mind, the degree of their participation is surely influencing their disposition on that continuum as well as the direction they are gravitating towards. Pongpan wishes to induce reflection and realization among his audience as he is hopeful that this can make an imprint on them that all individual actions are not at a single loss but rather encompassed into an exhaustive whole. But which whole, the one that advocated for cleaner air or insisted on polluted air, is finally up to the audience’s own judgment.
พงษ์พันธ์ สุริยภัทร
บทความโดย ธัญชนก เบญจจินดา
เมื่อถึงช่วงปลายฝนต้นหนาว ฤดูกาลของฝุ่นควันก็กลับมาอีกครั้ง ในช่วงหน้าหนาวของทุกปี มลภาวะทางอากาศจะเคลื่อนตัวจากภาคเหนือของประเทศไทยมายังกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้คุณภาพของอากาศดิ่งลงจนส่งผลต่อสุขภาพของประชากร เมื่อฝุ่นละอองหนาลอยอยู่รอบตัวเช่นนี้ หัวข้อ PM 2.5 ย่อมกลับมาเป็นประเด็นร้อนในหมู่ผู้คนและสื่อต่างๆ อีกครั้ง พงษ์พันธ์ สุริยภัทรในฐานะของศิลปินในพื้นที่ก็เข้ามามีส่วนร่วมสนทนาผ่านงานนิทรรศการศิลปะแบบนิวมีเดีย ที่หวังยกระดับความตระหนักเรื่องฝุ่นควันออกไปในวงกว้างมากขึ้น
อากาศเป็นทรัพยากรที่มีอยู่เหลือเฟือ แต่อากาศสะอาดกลับไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ทั่วไป สิ่งที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศาคืออนุภาคขนาดเล็กและมลพิษมากมาย มลภาวะทางอากาศแม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในระยะใกล้ แต่เมื่อมองจากระยะไกล สามารถเห็นเป็นเมฆหนาบดบังอาคารหรือภูเขาที่อยู่ในสายตาได้ กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในประเทศไทย เช่นการสันดาปเชื้อเพลิงในยานยนต์ การปล่อยมลพิษในระบบอุตสาหกรรม และการเผาที่ดินในการทำการเกษตร ก่อให้เกิด PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มลพิษยังอยู่ตลอดทั้งปี และหนำซ้ำยังหนาแน่นจนถึงระดับวิกฤติในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน (Temperature Inversion) ซึ่งกักเก็บมลพิษไว้ใกล้ระดับพื้นดิน นอกจากนี้อากาศเย็นยังมีความหนาแน่น และเคลื่อนตัวได้ช้าลงมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวที่แทบไม่มีลมและฝน
ในแต่ละวัน ปอดของมนุษย์วัยผู้ใหญ่กรองอากาศประมาณ 10,000 ลิตรโดยเฉลี่ย เมื่อมนุษย์จำเป็นต้องหายใจเพื่อให้มีชีวิตอยู่ การที่ต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีส่วนทำให้อายุขัยเฉลี่ยลดลง การรับเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ และเมื่อเวลาผ่านไป ย่อมส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานที่พิจารณาจากความเข้มข้นของฝุ่นละอองและระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ปกติแล้ว AQI ในกรุงเทพฯ จะอยู่ในโซน “Moderate” และจะค่อยๆ ขยับขึ้นสู่โซน “Unhealthy” ทุกปีในช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม AQI ของจังหวัดทางภาคเหนืออาจพุ่งขึ้นสู่ระดับ “Very Unhealthy” ซึ่งติดอันดับหนึ่งของพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของหลายจังหวัดที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา ที่ยิ่งเอื้อต่อการการสะสมของฝุ่นควันจำนวนมาก อันตรายจากมลภาวะในภาคเหนือของประเทศไทยอาจดูเหมือนปัญหาเฉพาะพื้นที่ ที่อาจดูไกลตัวสำหรับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อื่นๆ แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ หรือเราเพียงเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือนเหล่านี้โดยแลกกับความเสี่ยงของเราเอง?
ศิลปะแบบนิวมีเดีย เป็นความถนัดของพงษ์พันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแขนงย่อยอย่างศิลปะแบบเจนเนอเรทีฟ (Generative Art) ที่เป็นหัวใจหลักในการประกอบสร้างนิทรรศการนี้ขึ้นมา ศิลปะแบบเจนเนอเรทีฟ เป็นศิลปะดิจิตัลรูปแบบหนึ่ง ที่ศิลปินกำหนดเกณฑ์บางอย่างไว้ล่วงหน้า และปล่อยให้ผลลัพธ์ปรากฏอย่างอิสระ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ควบคุมระบบแสดงผลในนิทรรศการ จึงทำให้การนำเสนองานมีความน่าตื่นตาตื่นใจ และมีชีวิตชีวา ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจากนิทรรศการศิลปะประเภทอื่น นอกจากนี้ การที่ผู้เข้าชมได้เห็นการประมวลผลลัพธ์ของผลงานศิลปะโดยตรง ย่อมเอื้อให้ผู้เข้าชมรู้สึกมีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะอย่างชอบธรรม เพราะแม้ว่าพงษ์พันธ์จะเป็นผู้ออกแบบลำดับและกำหนดคำสั่ง แต่ศิลปินก็ไม่ใช่ผู้ควบคุมผลลัพธ์ของงานอย่างเด็ดขาด เขาสร้างขอบเขตและไม่แทรกแซงไปมากกว่าที่จำเป็น เพื่อปล่อยให้ผลลัพธ์ดำเนินไปพร้อมกับความคาดหวัง ของผู้เข้าชม และความเป็นไปได้ใหม่ๆ
นิทรรศการศิลปะแบบนิวมีเดีย นำเสนอปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยจัดให้อยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กที่เอื้อให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงและสำรวจได้ ศิลปินดึงเพียงเสี้ยวหนึ่งของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และจัดวางอย่างชาญฉลาดเพื่อให้ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงประสบการณ์ และความรุนแรงของสถานการณ์ สิ่งที่นิทรรศการเผยให้เห็นนั้นไม่ได้เพียงแค่อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กระดับไมโคร แต่ไล่เรียงไปจนถึงความคิดเห็น และมุมมองอันหลากหลายต่อปัญหามลพิษฝุ่นควัน นอกจากจะต้องการชี้ชวนให้ผู้ชมเห็นถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว ยังเชื้อเชิญภาคประชาชนให้ตระหนักถึงความเข้มข้นของปัญหา เพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง นิทรรศการนี้จำลองความเป็นจริง เพื่อย้ำเตือนว่า ทุกคน คือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บางคนได้ บางคนเสีย เพราะทุกการกระทำย่อมก่อให้เกิดผลกระทบ พื้นที่สมมุติในห้องนิทรรศการนี้ เชื้อเชิญให้ผู้ชมกระทำบางสิ่งบางอย่าง โดยแสดงผลกระทบให้เห็นแทบจะในทันที เช่นเดียวกับในโลกความเป็นจริงเพียงแต่เร่งระยะเวลาผลลัพธ์ให้เร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อเราทุกคนต่างก็มีส่วนร่วมในปัญหาอันซับซ้อนนี้ นิทรรศการจึงตั้งคำถามสุดท้ายว่า ตัวคุณเป็นผู้สร้างปัญหา หรือเป็นผู้รับผลกระทบของปัญหา?
พงษ์พันธ์ จัดสรรพื้นที่ห้องโถงชั้นล่างของแกลเลอรีให้ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมกับงาน แต่ทุกความตื่นเต้นและการมีปฏิสัมพันธ์กับชิ้นงานล้วนแต่มีราคาที่ต้องจ่าย บนผนังด้านหนึ่ง ศิลปินแสดงการไหลของละอองมลพิษทั้งขนาด PM 10 และ PM 2.5 บนหน้าจอทีวี (พร้อมแถบความหนาของเส้นผมสำหรับเปรียบเทียบ) ตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ (จากเว็บไซต์ aqicn.org) จากจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นฝุ่นพิษที่ก่อนหน้านี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน และได้แจ้งแก่ใจถึงคุณภาพอากาศ ไปจนถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ต้องอยู่กับสภาวะดังกล่าว ฝั่งตรงข้ามของแผงหน้าจอมีการจัดวางแท่น LED ต่างระดับและวัตถุไวไฟหลายชนิด เวที LED เหล่านี้แสดงถึงพื้นที่ดินทางภูมิศาสตร์ที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ที่ในทุกย่างก้าวของผู้เข้าชมจะก่อให้เกิดรูปฝุ่นควันที่กระจายออกไป และหากจำนวนก้าวถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มวลควันหนาแน่นจะถูกพ่นออกและกระจายไปทั่วทั้งห้องนิทรรศการ
เมื่อเดินต่อไปที่ชั้นสอง ภาพถ่ายของผู้เข้าชมนิทรรศการที่ถูกถ่ายโดยกล้องที่ชั้นล่าง จะปรากฎขึ้นมาเผชิญหน้ากับพวกเขา และทำให้ทุกคนได้สำรวจตนเอง บนหน้าจอทีวีที่ด้านบนและด้านล่าง มีคำสองคำที่เป็นขั้วตรงข้ามของกันและกัน เกิดเป็นภาพการแบ่งแยกที่มีใบหน้าของผู้เข้าชมงานวางอยู่ตรงกลาง และเหมือนกับว่าจะเป็นกลาง แต่ในใจของพวกเขาล้วนรู้ดีถึงการกระทำและการมีส่วนร่วมของตนเอง ว่าทั้งหมดส่งผลให้จุดยืนของแต่ละคนกำลังเอนเอียงไปทางด้านไหนมากกว่ากัน พงษ์พันธ์หวังจะกระตุ้นผู้ชมให้ใคร่ครวญและเห็นความสาหัสของปัญหาด้วยตนเอง เพราะเมื่อผู้ชมตระหนักด้วยตนเอง พลังการเปลี่ยนแปลงจึงจะเกิด ศิลปินต้องการสร้างแรงบันดาลใจว่าการกระทำของปัจเจกบุคคลไม่ได้สูญเปล่า หากแต่ถูกนับรวมเป็นมวลคลื่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ท้ายที่สุดแล้ว จะเข้าร่วมกับคลื่นที่สนับสนุนอากาศสะอาด หรือประวิงอากาศเสียไว้ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้เข้าชมเอง