Curatorial essay by Thanchanok Benjajinda
From Nomad to Nowhere, broaches the impact of capitalist intervention on the once harmonious connection between the fishing community and their seaborne surroundings. In the southern region of Thailand, nestled where the Bang Nara River meets the Gulf of Thailand, lies a fishing village at the heart of Narathiwat where the descendants of sea nomads reside. Historically, the sea peoples were nomadic, sailing along coastal deltas and islands throughout the year, their livelihoods intertwined with the sea’s rhythms. However, urbanisation and land reclamation have created a constant state of residential conflict and unbelonging for the community.
The delta, with its fertile water, became a semi-permanent home for some nomadic fishermen, despite the risks of land erosion. When the relocation was called for, they would move to the nearby vacant islands. Their livelihood was flexible. The acceleration of urban development brought in more people from diverse origins. The once “flexible” relationship with the land was no longer sustainable. It became fraught with conflict. The fishermen now find themselves on scattered pieces of land in the delta, facing overcrowding as the population grows. More houses were built, some even extended over canals and rivers. The land they currently reside on is either under the jurisdiction of the Marine Department (กรมเจ้าท่า), making their presence debatable, or owned by local magnates who can afford and arrange for land reclamation, gradually expanding their holdings year by year.
In addition, the coastal landscape has undergone a radical transformation. When the fishermen are at sea, they eye mountains on the land as their navigation guide to return home. Local mountains have been blasted to gravels to produce construction materials. Sand dunes have been dredged. Erosion barriers have been fortified. Some land reclamation projects have further altered the characteristics of coastline and rivers, using rock and sand to reshape the land for human use. This drastic change has undermined the bounty of the land and the bonding with people who once harmonised with it.
Prach Pimarnman’s work captures the tension between the disappearing natural landscape and the vulnerable yet resilient community. The increasingly restricted livelihood of the community is translated in the rectangular shapes of the frames. The mark makings and traces of discarded rugged fishing nets on the artwork’s thick surface represent the Bang Nara fishing communities. Inevitably, the marks left behind by structured squares of the iron mesh grids symbolise the encroaching cityscape that is slowly wiping out the village and its way of life. The artist sources materials local to the fisherman village such as sea shells, bricks, and charcoal then pound and sieve them to create natural pigments. He also uses discarded villager’s materials such as torn fishing nets and iron mesh to create mark makings. The usage of colour pattern alludes to choropleth map. The artworks are tense in surface texture, from a mixture of local white clay and other materials, bringing to mind the geographical body of the sea and the land.
Another striking piece in From Nomad to Nowhere is a motor driven artwork installed in a contained environment that simulates a mini storm at intervals. The elements inside the storm box comprising debris like the broken shells, red bricks, and charcoal are spun out of control when the storm hits and scattered in a mess when the storm ceases. At every interval, the debris settles in a new configuration, evoking a sense of disarray. The aftermath of the storm reflects the shifting naturescape shaped by coercive forces, leading to unplanned results that no one cares to hold responsibility for.
In addition to his tactile artworks, Prach’s video documentary complements his exploration on the gradual erosion of both the physical and cultural landscapes. The film captures footage of sand dredging boats and massive coastal barriers, which, though designed to protect the shoreline from erosion, also restrict access to areas where boats once easily moored. The coastal barriers impose rigid structures on fluid ecosystems. This alteration reverberates through the environment, affecting how natural forces interact and eroding the delicate balance that once existed between the land, the sea, and its people.
Prach’s art stands as both a memorial to what has been lost and a call to recognise the profound impact that unchecked urbanisation has on fragile communities. Through his use of local, discarded materials and neglected memories, he mirrors the community’s struggle to preserve their way of life amid the influx of capitalism. His work serves as a poignant reminder of the precarious state between humans and nature in the present time. As the landscapes of Narathiwat continue to shift, the bond between the sea people and their seaborne tradition weakens beyond their control. Yet, through the traces they leave behind—in both material and memory—the resilience of their culture endures, even as the world around them changes beyond recognition.
บทความนิทรรศการโดย ธัญชนก เบญจจินดา
แปลภาษาไทยโดย ทีทัช หงษ์คงคา
นิทรรศการ From Nomad to Nowhere นำเสนอผลกระทบของการแทรกแซงจากระบบทุนนิยมต่อความสัมพันธ์ของชุมชนชาวประมงที่เชื่อมโยงแน่นแฟ้นกับผืนน้ำและท้องทะเล ในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณปากแม่น้ำบางนราที่ไหลมาบรรจบกับอ่าวไทย พื้นที่ปากแม่น้ำแห่งนี้มีหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ที่ใจกลางจังหวัดนราธิวาส บรรพบุรุษของผู้คนที่อาศัยบนพื้นที่แห่งนี้ คือเหล่าคนทะเลที่เคยต่างพเนจรไปตามหมู่เกาะและปากแม่น้ำต่าง ๆ วิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นผูกพันอยู่กับธรรมชาติและทะเล ต่อมาจากครอบครัวชาวประมงไม่กี่ครัวเรือน จนเกิดการขยายตัวของเมืองและการขยายอาณาเขตด้วยการถมที่ ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งในการอยู่อาศัยและขาดความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาวทะเลบางส่วน แม้พื้นที่จะมีความเสี่ยงจากการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่เกาะต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง วิถีชีวิตของคนในพื้นที่จึงค่อนข้างใกล้ชิดและผูกพันธ์กับธรรมชาติ ในปัจจุบันชาวประมงในท้องที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำ ต้องพบเจอกับปัญหาความแออัด อันเนื่องมาจากการพัฒนาและเติบโตของเมืองที่ได้นำพาผู้คนจากต่างถิ่นเข้ามา จำนวนประชากรและอาคารบ้านเรือนที่เพิ่มขึ้น บางส่วนขยายพื้นที่รุกล้ำคลองและแม่น้ำ ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยใกล้ชิดกับพื้นที่และธรรมชาติแปรเปลี่ยนไป ไม่ยั่งยืนเหมือนดังในอดีต พื้นดินที่เคยอยู่อาศัยตกอยู่ภายใต้การปกครองของกรมเจ้าท่า ซึ่งมีกรณีข้อพิพาท หรือบางส่วนเป็นของเศรษฐีท้องถิ่นที่มักจะขยายอาณาเขตด้วยการถมที่บริเวณริมน้ำเพื่อให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
นอกจากนี้ ภูมิทัศน์ในชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก จากเมื่อก่อนเวลาที่ชาวประมงออกเดินเรือในทะเล ภูมิทัศน์ของภูเขาจากบนฝั่งเป็นเสมือนเส้นทางในการนำทางกลับบ้าน แต่ปัจจุบันภูเขาถูกทำลายเพื่อสร้างถนน หรือแปรเปลี่ยนเป็นกรวดและหินเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้าง เนินทรายถูกขุดลอก และชายฝั่งถูกเสริมด้วยแนวกั้นการกัดเซาะ โครงการถมที่ดินทั้งริมฝั่งทะเลและริมฝั่งแม่น้ำยังคงทำลายความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้หินและทรายจากในพื้นที่ เพื่อปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธรรมชาติให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสั่นคลอนสายสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสิ่งแวดล้อม
ผลงานของ ปรัชญ์ พิมานแมน สะท้อนเรื่องราวความตึงเครียดระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติที่กำลังสูญหายกับวิถีชีวิตของชุมชนอันเปราะบาง นำเสนอผ่านกรอบภาพรูปทรงสี่เหลี่ยมทีมีร่องรอยจากอวนประมงที่ถูกทิ้งบนพื้นผิวผลงานจิตรกรรม นำเสนอภาพแทนชุมชนชาวประมงบางนรา ร่องรอยที่ปรากฎจากตะแกรงเหล็กเป็นโครงสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความสมมาตร เป็นภาพแทนของเมืองที่กำลังรุกคืบเข้ามาอย่างช้า ๆ และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน ศิลปินเลือกใช้วัตถุจากท้องถิ่นในการสร้างสรรค์ผลงานจากชุมชนชาวประมง เช่น เปลือกหอย อิฐ และถ่าน นำมาทุบละเอียดและร่อนเพื่อสร้างสีธรรมชาติ รวมถึงวัสดุที่เหลือทิ้งจากชาวบ้าน เช่น อวนประมงขาด และตะแกรงเหล็ก เพื่อสร้างพื้นผิวบนผลงานให้เกิดเป็นลวดลายและสีสัน คล้ายกับแผนที่แถบสี (Choropleth map) ที่มีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ ขรุขระขึ้นจากการใช้ดินขาวในท้องถิ่นผสมกับวัสดุอื่น ๆ ชวนให้นึกถึงความสูงต่ำที่หลากหลายในภูมิศาสตร์ของทะเลและแผ่นดิน
ผลงานที่น่าประทับใจอีกชิ้นหนึ่งในนิทรรศการ From Nomad to Nowhere คือ ผลงานที่ติดตั้งพัดลมมอเตอร์เพื่อจำลองและเลียนแบบสภาพแวดล้อมให้เกิดเป็นพายุขนาดเล็ก องค์ประกอบภายในผลงานประกอบด้วย เศษเปลือกหอย อิฐแดง และถ่าน ถูกควบคุมและพัดพาด้วยแรงลมกระจัดกระจาย เมื่อคลื่นลมสงบลงกลายเป็นเศษซากของกองตะกอนในรูปแบบที่แตกต่าง สร้างความรู้สึกวุ่นวายยุ่งเหยิง เป็นผลสะท้อนเรื่องราวของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
นอกเหนือจากผลงานในเชิงวัตถุ ปรัชญ์ สร้างสารคดีเพื่อสำรวจการกัดเซาะทั้งทางกายภาพและในเชิงวัฒนธรรม สารคดีบันทึกภาพเรือขุดทรายและกำแพงชายฝั่งขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะ แต่ขณะเดียวกันก็จำกัดการเข้าเทียบท่าของเรือในพื้นที่ กำแพงกันคลื่นที่ก่อเป็นโครงสร้างแข็งแรงขนาดใหญ่บนพื้นที่ที่มีความลื่นไหลทางระบบนิเวศ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อธรรมชาติ กลายเป็นการกัดเซาะความสมดุลที่เคยมีอยู่ระหว่างแผ่นดิน ทะเล และผู้คน
ผลงานศิลปะของปรัชญ์ เป็นตัวแทนอนุสรณ์สถานของสิ่งที่สูญเสียไป และเป็นการเรียกร้องให้ตระหนักถึงผลกระทบอันแสนเปราะบาง ผ่านการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่ถูกทิ้งขว้างและความทรงจำที่ถูกละเลย ศิลปินสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของชุมชนในการรักษาแบบแผนวิถีชีวิต ท่ามกลางกระแสของทุนนิยม ผลงานชุดนี้จึงเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงสภาวะที่ไม่แน่นอนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในสถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่ภูมิทัศน์ของนราธิวาสเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของคนทะเลและประเพณีทางทะเล แม้จะจืดจางลงเกินกว่าจะควบคุมได้ แต่ร่องรอยจากวัสดุที่ฝากไว้และความทรงจำของวัฒนธรรมของพวกเขายังคงอยู่ แม้ว่าโลกโดยรอบจะเปลี่ยนไปจนแทบจะจำไม่ได้เลยก็ตาม