September 23 - December 4, 2021 - Warin Lab Contemporary

Overview

Artist: Cameron Platter
Curatorial text by: Michela Sena
This exhibition marks Platter’s first solo show in Thailand and brings an installation of drawings and sculptures.

In line with Warin Lab Contemporary’s mission of providing a space to discuss social issues through art and its focus on an environmental theme throughout 2021, Platter chooses to concentrate on the theme of trash, a constant element of his art. The artist breaks through the wall of a frontal point of view, transcending the obviousness of a literal reading. Digging deeper into the multilayered concept of trash, he plays with its very complexity. In his world, trash is a wide concept that includes ecological aspects like environmental degradation, mutations and toxicity. 

But trash also overcomes this perspective and is a metaphor for our society’s debris: it is the garbage of the conformist common sense; it is people narcotized watching a Netflix series while the worst inhumanities flow in the background of life. Excess, consumption, mutations, mass hysteria, plasticizers, cancers, toxic waste; as well as the maximalist disposable-culture of fast food, fast money, fake-news, greed and crumbling late-stage capitalism. Trash is the aberration of evil that wanders the Earth.

In Platter’s works two crocodiles’ outlines overlap against a bricked wall, shrimps fluctuate with martini drinks and black cats, an image of a fish lifted from Shutterstock are subjects of his drawings. Acid, vivid, toxic sharp colors daze us. “Life”, “Exodus”, “Casino”, the titles of these works, pop up in the composition like neon signs flashing at us, like details of mounting anxiety.

Carved wooden copies of plastic stools are scattered in view of the brightly- painted gallery wall. The drawings themselves appear like an altar piece but also like items on a fast-food menu. Physically brought together by the stools, viewers are involved and engaged. Not audience anymore, they become part of the whole work, a consumerist temple for a Happy Meal.  The whole exhibition represents an experience, rather than simply a collection of different works. It creates a whole universe.


The all-encompassing nature of Platter’s approach has a totalizing embrace, it’s the coexistence of opposites: symbols from high and low culture, irony and tragedy, cynicism and social commitment, lightness and playfulness along with fear, panic and chaos.

Platter’s works always have a strong impact. There’s no surface subtlety, and this project has the aggressive strength to immediately shake us at our core – it strikes with violence and awakens us, to suddenly rouse us from torpor. After the initial strong impact, the works open multiple doors and we find ourselves with different paths of reflection where we can find both subtle comedy and tragedy.

Complexity, entropy, disintegration of sure reference points: what Cameron Platter does is take our certainties, our undisputed vision of reality, and plays with it. He shuffles the cards, throws them on the ground, shredding them into a thousand pieces scattered upside down, all over. He laughs at us; he frightens us with a Joker smile. When we come back from this trip things aren’t like they were before. Simple things have revealed a deep nature, a connection with a magma from which everything derives, a tragic and frightening substance, but at the same time as true as life is. What is certain is that we are no longer sure of anything. 

Cameron Platter predicts our future and at the same time he also reports the most accurate picture of our contemporaneity. His work is multilayered, multi-dimensional, multi-material, multi-idea’ed.
 

What you see is not what you get. “The Message is the Message” is not the message.

ศิลปิน คาเมรอน แพลตเตอร์

ผู้เขียนบทความ  มิเกล่า ซีน่า

นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในประเทศไทยของคาเมรอน แพลตเตอร์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงระดับโลกจากประเทศอาฟริกาใต้  ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 18 พฤศจิกายน 2564 โดยนำเสนอศิลปะ แบบจัดวางที่ประกอบด้วยผลงานจิตรกรรมและประติมากรรม

เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของหอศิลป์ ในการเป็นพื้นที่ที่สื่อสารปัญหาสังคมผ่านงานศิลปะ  โดยในปี 2564 และ 2565  หอศิลป์เน้นเฉพาะการสื่อสารด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม  นิทรรศการครั้งนี้ ชูประเด็น ‘ขยะ’ ซึ่งเป็นประเด็นที่แพลตเตอร์ให้ความสนใจตลอดมา  ทั้งนี้ ศิลปินไม่ได้พูดถึงปัญหาขยะแบบผิวเผินเท่านั้น แต่เขาลงลึกไปยังแนวคิด ที่ทับถมกันอย่างสลับซ้ำซ้อน และสื่อสารถึงขยะอย่างมีชั้นเชิง

ในความคิดของเขา  ขยะเป็นประเด็นที่กว้างและครอบคลุมระบบนิเวศ อาทิ การเสื่อมโทรม ของสิ่งแวดล้อม การกลายพันธุ์ และมลพิษ  ยิ่งไปกว่านั้น ขยะยังเปรียบเสมือนซากปรักหักพัง ของสังคม สะท้อนให้เห็นถึง พฤติกรรมของมนุษย์ที่ปฏิบัติกันมานานอย่างเคยชิน ผู้คนนอนดูซีรีย์ Netflix อยู่ในบ้านอย่างสบายใจ ในขณะที่โลกภายนอกนั้นเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม การบริโภคเกินจำเป็น การเปลี่ยนแปลงระดับพันธุกรรม สารพลาสติก โรคมะเร็ง  ขยะปนเปื้อน พฤติกรรมการใช้แล้วทิ้งอย่างสุดโต่ง อาหารจานด่วน เงินด่วน ข่าวปลอม รวมถึงระบบทุนนิยม ที่กำลังจะพังทลาย ‘ขยะ’ คือสัญลักษณ์ของปีศาจร้ายในทุกรูปแบบ ที่กำลังคืบคลานและกัดกินโลกใบนี้

ลายเส้นของจระเข้ที่อยู่บนผนังอิฐ กุ้งที่แกว่งไปมาในแก้วมาร์ตินี่ แมวดำ และภาพปลาที่ยกมาจาก เว็บไซต์ Shutterstock คือตัวละครหลักในภาพวาดของเขา สีที่แสบสัน จัดจ้าน แหลมคม และดูมีความเป็นพิษ ชวนให้เรางงงวย   ชื่อผลงาน ‘Life’, ‘Exodus’, ‘Casino’ ปรากฏขึ้นราวกับป้ายนีออน ที่กำลังสาดแสงใส่ผู้ชม  การติดตั้งชิ้นงานที่ชวนคิด พาให้รู้สึกหลอนราวกับเสพย์สิ่งมึนเมา ภายในห้องแสดงงานกำแพงสีสด มีเก้าอี้ไม้แกะสลักที่ดูเหมือนเก้าอี้พลาสติกกระจัดกระจายอยู่ทั่ว การจัดวางผลงานภาพวาดบนผนัง นอกจะเหมือนฉากหลังของแท่นบูชาในโบสถ์ และก็ยังเหมือนเมนู ในร้านอาหารฟาสต์ฟูดเช่นกัน  เมื่อเข้ามานั่งชมงาน ในนิทรรศการ ผู้ชมจะกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของงานและมีบทบาทอยู่ในวิหารแห่งผู้บริโภค นิทรรศการนี้ไม่ได้เป็น เพียงแค่การแสดงผลงานให้ชมเท่านั้น  แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชม กล่าวคือแพลตเตอร์ ทำให้เรา อยู่ในโลกที่สรรพสิ่ง อยู่ร่วมกัน และยอมรับซึ่งกันและกันอย่างไม่มีข้อกังขา แม้จะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

งานของแพลตเตอร์ มักจะสร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างดี และครั้งนี้ก็เช่นกัน ผลงานของเขามีพลังรุนแรงที่จะปลุก ให้เราตื่นจากความเฉื่อยชา เมื่อผู้ชมก้าวผ่านการปลุกเร้าเมื่อเห็นผลงานในแวบแรกงานของแพลตเตอร์ เปิดประตูอันซับซ้อนที่ทำให้ผู้ชมสะท้อนความคิดและความรู้สึกในหลายแง่มุม ซึ่งเป็นไปได้ทั้งในรูปแบบสุขนาฏกรรม ไปจนถึงโศกนาฏกรรม

การสื่อสารในแบบของแพลตเตอร์ไม่ใช่การสื่อสารแบบเส้นตรง  เขาสร้างโลกที่ไม่พึงปรารถนาที่มีความโกลาหล โดยปฎิเสธปรัญชาของ Cartesian ที่เชื่อว่าจิตนั้นแยกกับร่างกายและโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง  แพลตเตอร์สนับสนุนแนวความคิดที่ว่า ตัวตนของมนุษย์เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้  และสามารถสร้างความตระหนักรู้ได้ด้วยตนเองด้วยธรรมชาติของสมองซึ่งอนุมานและคาดคะเนข้อมูลต่างๆ ตลอดเวลา ผลงานของแพลตเตอร์ทำให้จิตยุ่งเหยิงและนำไปสู่การสูญสิ้นตัวตนในเชิงปรากฏการณ์วิทยา

แพลตเตอร์ เล่นกับความจริงที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นสิ่งแน่นอนไม่อาจโต้แย้งได้ เขากำลังสับไพ่หลอก ฉีกมันออก เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และโปรยให้กระจัดกระจายไปทั่ว เขาหัวเราะ และส่งรอยยิ้ม แบบโจ๊กเกอร์มาที่เรา ชวนให้ หวาดผวาและหมุนวนอย่างไร้ทิศทางราวกับอยู่ในเครื่องปั่น หลังจากที่ผู้ชมกลับมาจากการเดินทางด้านความรู้สึกครั้งนี้ ทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สิ่งที่ดูเรียบง่ายเผยถึงความลุ่มลึกซึ่งหยั่งรากไปถึงแกนกลางของโลกที่มีหินหลอมเหลวที่ทั้งน่ากลัวและชวนให้หวาดผวา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือสัจธรรมของชีวิต  สิ่งนี้เปรียบเปรยให้เห็นว่าความ แน่นอนคือความไม่แน่นอน งานของแพลตเตอร์มีความซับซ้อนหลายชั้น หลากมิติ หลากวัสดุ และหลากแนวคิด

คุณเห็นอะไร คุณก็จะได้รับสิ่งนั้น “The Message is the Message” ที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อความที่อ่านได้ด้วยตาเท่านั้น

ตั้งแต่สมัยอดีตกาลมนุษย์มีความพยายามในการเสาะหาความหมาย และคิดเข้าข้างตัวเองว่าเราสามารถตีความทุกสิ่ง  สร้างความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และสร้างคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า ศิลปินเชื่อว่าทั้งหมดนี้ได้ถูกเปิดเผยแล้ว  แพลตเตอร์นำเสนอความจริงอันซับซ้อนที่ไม่มีคำอธิบายตายตัว อาทิ เช่น การอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมสมัยนิยม   โศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม รวมถึงการเยาะเย้ยถากถาง และการเสียดสี ทั้งหมดล้วน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เข้มข้นรุนแรง สิ่งที่เราเสพย์ติดและหลงใหลในชีวิต ก็เหมือนกับการเล่นการพนันในบ่อนคาสิโน เหมือนการว่ายวนอยู่ในบ่อน้ำกรด

ในนิทรรศการนี้ การตีความของเราผ่านเลนส์ความคิดเดิมจะถูกพักไว้ชั่วคราว  ผู้ชมเข้ามาในโลกที่ไม่ผ่านตัวกรอง  ในที่สุด เราจะมองเห็นความงามในขยะ  ความงามของการกลายพันธุ์ ขยะอาจเป็นสิ่งดี หรือไม่ดีอยู่ที่การตีความของแต่ละคน  อยู่ที่จิตของผู้ชมว่าพร้อมที่จะรับและตีความเช่นใด

งานของแพลตเตอร์ เป็นการทำนายอนาคตและสะท้อนภาพปัจจุบันไปพร้อมๆ กัน  เขาต้องการให้ผู้ชมมองผ่านเลนส์แห่งความโกลาหล ทั้งในการชมนิทรรศการ  และในการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยปัจจุบัน  ซึ่งผู้ชมจะพบว่าโลกกำลังถดถอยเข้าสู่กลียุค  และอาจเป็นไปได้ว่ากลียุคได้มาถึงแล้ว

Artists